เทรนด์ไมโคร  ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นความปลอดภัยทางไซเบอร์ ได้ออกมาเผยข้อมูลว่า ผู้บริหารด้านไอทีที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ส่วนหนึ่งรู้สึกว่าผู้บริหารระดับสูงของบริษัทไม่ได้ให้การสนับสนุนตนเองเท่าที่ควร โดยมีถึง 33 เปอร์เซ็นต์ที่พบว่าตำแหน่งงานของตนเองถูกโดดเดี่ยวจากองค์กรโดยรวม

ทีมงานด้านไอทีต่างกำลังเผชิญแรงกดดันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะจากปัญหาที่ต้องเผชิญอยู่ อย่างการจัดลำดับความสำคัญของอันตรายแบบต่าง ๆ (47 เปอร์เซ็นต์) และการเฝ้าติดตามสภาพแวดล้อมด้านความปลอดภัยที่บกพร่องอยู่ (43 เปอร์เซ็นต์) ผลสำรวจดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่าพวกเขากำลังรู้สึกว่าความรับผิดชอบที่ตนเองได้รับมอบหมายนั้นค่อนข้างหนักเกินไป โดยมีถึง 34 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าภาระงานที่ตนเองแบกรับอย่างหนักนี้ได้ทำให้ความพึงพอใจในงานของตนเองลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

“ผู้นำองค์กรจำเป็นต้องตระหนักว่า พนักงานทุกคนที่ได้รับมอบหมายหน้าที่ในการดูแลด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์นั้นล้วนเผชิญกับความเครียดทั้งสิ้น” Bharat Mistry หัวหน้าทีมกลยุทธ์ด้านความปลอดภัยของเทรนด์ไมโครกล่าว “จากสถานการณ์ด้านการโจมตีทางไซเบอร์ที่รุนแรงมากขึ้นทั้งด้านปริมาณและความซับซ้อนนั้น ทำให้ทุกฝ่ายต้องร่วมมือช่วยเหลือกัน ไม่มีธุรกิจไหนที่สามารถปล่อยให้ฝ่ายไอทีทำงานอย่างโดดเดี่ยวเพียงแค่มองว่าเป็นหน่วยงานที่ต้องมีไว้ (แต่ไม่ได้มีผลต่อธุรกิจแต่อย่างใด) หมายความว่า เราจำเป็นต้องเปลี่ยนความคิดจากเดิมที่มองการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นเรื่องของฝ่ายไอทีอย่างเดียว มาเป็นการแบ่งปันความรับผิดชอบร่วมกันทุกคนทั่วทั้งองค์กรแทน”

ผลสำรวจยังระบุด้วยว่า 72 เปอร์เซ็นต์มีการนำเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์เข้ามาคุยกันในระดับคณะกรรมการบริหารขององค์กร แต่คนที่นั่งเก้าอี้บริหารอยู่นั้นกลับไม่มีใครที่เหมาะสมหรือมีความรู้ด้านนี้เพียงพอ จนทำให้กลายเป็นการพูดคุยที่ไม่มีประโยชน์ในที่สุด ทั้งนี้เทรนด์ไมโครสำรวจพบว่า 44 เปอร์เซ็นต์เผชิญอุปสรรคในการสื่อสารเกี่ยวกับอันตรายที่ซับซ้อนให้ผู้นำองค์กรเข้าใจ และกว่า 57 เปอร์เซ็นต์กล่าวว่า การสื่อสารภายในองค์กรถือเป็นปัญหาสำคัญที่สุดในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์

มีผู้ตอบแบบสอบถามระบุเพิ่มเติมว่า การโดนโจมตีทางไซเบอร์ที่ส่งผลกระทบต่อบริษัทอย่างชัดเจนมักทำให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญด้านนี้อย่างจริงจัง หรือวัวหายแล้วถึงอยากล้อมคอก โดย 64 เปอร์เซ็นต์กล่าวว่า การสื่อสารทำได้ง่ายขึ้นมากในช่วงที่มีสถานการณ์การโจมตีที่เกิดขึ้นในวงกว้างและใกล้ตัวอย่าง WannaCry จึงเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่คนทำงานด้านไอทีว่า จะทำอย่างไรถึงแก้ปัญหาด้านการสื่อสารได้ก่อนที่จะสายเกินไป หรือโดนโจมตีไปแล้ว

Mistry กล่าวเสริมว่า “การนำประเด็นนี้ขึ้นไปคุยกับบอร์ดบริหารได้นั้นถือเป็นแค่ก้าวแรก เจ้าหน้าที่ด้านไอทียังจำเป็นต้องหาวิธีที่จะสื่อสารถึงคุณค่าของการมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยกับพนักงานทุกคนทั่วทั้งบริษัทด้วย นอกจากนี้ยังต้องคอยเรียนรู้เพิ่มเติมจากตัวอย่างผู้นำองค์กรอื่น ๆ ที่ประสบความสำเร็จในการสื่อสารให้ตระหนักถึงความเสี่ยงด้านความปลอดภัย จนสามารถทำให้ทุกฝ่ายในองค์กรตระหนักถึงเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นอันดับแรก”

ข่าวประชาสัมพันธ์

SHARE
คนเล่าเรื่องไอที ที่เชื่อว่าการได้เดินทางและการพบปะพูดคุยกับผู้คนในสายงานต่าง ที่ไม่คุ้นเคยคือกำไรชีวิต...หลงไหลในการเดินทางเป็นชีวิตจิตใจ ตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อได้เจอเจ้าหน้าที่ ตม.
RELATED POSTS
บริษัท ฮุนได มอเตอร์ ประสบความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ในงาน Red Dot Award: Brand & Communications Design 2024
LINE MELODY จัดงาน LINE MELODY MUSIC AWARDS 2022 ร่วมลุ้นศิลปินในดวงใจ
OPPO ผนึกเอไอเอสมอบส่วนลด OPPO Find X2 Pro 5G ทันทีสูงสุด 13,000 บาท

Leave Your Reply

*