นานกว่าสองปีแล้วที่แรนซัมแวร์ Wannacry ชื่อกระฉ่อนได้โจมตีหน่วยงานการแพทย์และองค์กรอื่นๆ ทั่วโลก หน่วยงานทางการแพทย์ดูจะเรียนรู้จากเหตุการณ์นี้และแก้ไขระมัดระวังมากขึ้นด้วยตัวเลขในปี 2019 ระบุว่าจำนวนอุปกรณ์การแพทย์ที่ถูกโจมตีมีจำนวนลดลง

สถิติจากแคสเปอร์สกี้แสดงว่า อุปกรณ์โรงพยาบาล 30% ที่ถูกโจมตีในปี 2017 ลดลงเหลือ 28% ในปี 2018 และเหลือแค่ไม่ถึงหนึ่งในสามหรือ 19% ในปี 2019 นี้

อย่างไรก็ตาม แคสเปอร์สกี้ก็แจ้งเตือนว่า จำนวนอุปกรณ์ที่ถูกโจมตีลดลงนั้นเป็นตัวเลขโดยรวมทั่วโลก แต่บางประเทศยังมีตัวเลขการโจมตีที่สูง อุปกรณฺการแพทย์จำนวนมากกว่าเจ็ดในสิบเครื่องในประเทศเวเนซูเอล่า (77%) ฟิลิปปินส์ (76%) ลิเบีย (75%) และอาร์เจนติน่า (73%) ยังถูกโจมตีผ่านเว็บอยู่ อีกสองประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ติดโผ 15 ประเทศที่มีจำนวนการถูกโจมตีสูงสุดของโลก คือ บังกลาเทศ (58%) และไทย (44%)

ตัวเลขข้างต้นเป็นตัวเลขที่นักวิจัยตรวจพบผ่านโซลูชั่นของแคสเปอร์สกี้ในอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งเซิร์ฟเวอร์ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โมบาย แท็บเล็ต อุปกรณ์ไอโอที และเครื่องมือทางการแพทย์อื่นๆ ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต

ยูริ นาเมสนิคอฟ หัวหน้าทีม GReAT หรือทีมวิเคราะห์และวิจัยของรัสเซีย บริษัท แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “แม้ว่าเราอยากจะเชื่อว่า ทุกคนได้ตระหนักถึงภัยคุกคามร้ายผ่านเหตุการณ์ Wannacry มาแล้ว แต่ความจริงคือยังมีอีกหลายประเทศที่ยังดำเนินการล่าช้าในการป้องกันภัยไซเบอร์ต่ออุปกรณ์การแพทย์ ปัจจัยหนึ่งที่เราสังเกตได้คือ โอกาสที่จะถูกโจมตีนั้นขึ้นอยู่กับงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้ อีกปัจจัยคือความตระหนักถึงภัยไซเบอร์ในสถานพยาบาล”

แคสเปอร์สกี้ ขอแนะนำสถานพยาบาลดังนี้

  • ต้องมองว่าความปลอดภัยไซเบอร์เป็นเรื่องสำคัญ
    • การโจมตีทางไซเบอร์ต่อสถานพยาบาลเป็นเรื่องที่ควรปฎิบัติอย่างมืออาชีพ เพราะมีความเสี่ยงต่อชีวิตได้
    • บุคลากรในสถานพยาบาลควรเข้าใจถึงภัยคุกคามไซเบอร์และดำเนินการป้องกันระบบงานต่างๆ
    • เซอร์วิสด้านข้อมูลภัยคุกคามและรายงานต่างๆ สามารถช่วยให้สถานพยาบาลเข้าใจและป้องกันการโจมตีไซเบอร์ที่อาจะเกิดขึ้นได้
  • ตรวจสอบความสามารถด้านความปลอดภัยของซัพพลายเออร์ที่ใช้
    • เครื่องมือทางการแพทย์มักมีราคาค่อนข้างสูงและรับประกันนานกว่าสิบปี ผู้ผลิตจึงควรพิจารณาการใช้งานฮาร์ดแวร์ที่ปลอดภัยเพื่อป้องกันช่องโหว่ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
    • ผู้ขายควรพิจารณาการตั้งทีมรับมือเมื่อเกิดเหตุการณ์โจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้น
  • ตรวจสอบการเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์
    • โรงพยาบาลและสถานพยาบาลมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากขึ้นทุกวัน จึงควรตรวจสอบว่าบุคลากรใดได้สิทธิ์เข้าถึงเซิร์ฟเวอร์และดาต้าบ้าง
    • โรงพยาบาลเป็นสถานที่สาธารณะ พนักงานเก่าที่มีปัญหากับโรงพยาบาลสามารถก่อความเสียหายได้ เช่น ลบข้อมูลต่างๆ ออกจากระบบ
  • การกำหนดกฏระเบียบความปลอดภัยไอทีเป็นเรื่องจำเป็น
    • เช่นเดียวกับหน่วยงานด้านการเงิน ภาคสาธารณสุขก็ควรมีการร่างกฎหมายกฏระเบียบต่างๆ เพื่อเตรียมรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์ต่อสถานพยาบาลที่เพิ่มมากขึ้น
  • การอบรมด้านความปลอดภัยไซเบอร์แก่พนักงานในโรงพยาบาล คลินิก และสถานพยาบาลอื่นๆ เป็นเรื่องจำเป็นมาก
ข่าวประชาสัมพันธ์
SHARE
คนเล่าเรื่องไอที ที่เชื่อว่าการได้เดินทางและการพบปะพูดคุยกับผู้คนในสายงานต่าง ที่ไม่คุ้นเคยคือกำไรชีวิต...หลงไหลในการเดินทางเป็นชีวิตจิตใจ ตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อได้เจอเจ้าหน้าที่ ตม.
RELATED POSTS
AIS ผนึก CTW ต้อนรับคนไทยกลับห้าง! จัดทัพ 5G ร่วมสร้าง NOW Normal รีเทล
AIS เปิดให้บริการ eSIM สำหรับ iPhone XR, iPhone XS และ iPhone XS Max แล้ววันนี้
อาร์ทีบีฯ ขานรับเทรนด์คนทำงานที่บ้านและทำงานทางไกล

Leave Your Reply

*