ฟิตบิท ตัวช่วยออกกำลังกายและสมาร์ทวอทช์ที่สมบูรณ์แบบ ยกระดับสุขภาพด้วยระบบติดตามอัตราการเต้นของหัวใจที่แม่นยำ
เนื่องในวันหัวใจโลก (World Heart Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 29 กันยายน ของทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกคนตื่นตัวหันมาดูแลสุขภาพหัวใจของตนเอง นับเป็นเวลาทีเหมาะสมในการเริ่มดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดียิ่งขึ้น
Harley Pasternak ผู้ดูแลสุขภาพและนักโภชนาการชื่อดังที่ทำงานร่วมกับคนดังฮอลลีวูดหลายท่าน อาทิ Adam Levine, Lady Gaga, Ariana Grande และ Charlie Puth เคยกล่าวไว้ว่า อัตราการเต้นของหัวใจนั้นเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงสมรรถภาพของร่างกาย และสภาวะของสุขภาพ
ในขณะเดียวกัน Harvard Health ได้เผยแพร่บทความที่อธิบายเกี่ยวกับจังหวะและการเต้นของหัวใจว่ามีความสัมพันธ์กับการทำงานของหัวใจในการหมุนเวียนออกซิเจนและสูบฉีดเลือดในร่างกาย ซึ่งหัวใจของเราควรจะมีการทำงานที่สม่ำเสมอและสมบูรณ์
แต่ถึงกระนั้นหากมีบางอย่างผิดปกติในร่างกาย การสูบฉีดของเลือดจะส่งสัญญาณไปถึงอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต เราจึงควรให้ความสำคัญกับอัตราการเต้นของหัวใจซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเข้าใจสภาวะร่างกายของตัวเราเอง
การวัดอัตราการเต้นของหัวใจ
การวัดอัตราการเต้นของหัวใจนั้นมีรูปแบบที่สำคัญ 2 รูปแบบ คือ อัตราการเต้นของหัวใจยามพัก และ อัตราการเต้นหัวใจสูงสุด เพื่อให้ผู้ทดสอบสามารถรู้ถึงสภาวะต่าง ๆ ของร่างกายตนเอง ดังนี้
อัตราการเต้นของหัวใจยามพัก
อัตราการเต้นหัวใจยามพักคือภาวะที่หัวใจเต้นด้วยความช้าที่สุดเพื่อให้ออกซิเจนหมุนเวียนได้ตามความต้องการของร่างกาย อัตราการเต้นหัวใจยามพักสามารถวัดได้ในขณะที่คุณนอนนิ่งไม่ได้ทำอะไร โดยปกติอัตราการเต้นของหัวใจยามพักจะอยู่ที่ 60 ถึง 100 ต่อนาที ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่าอัตราการเต้นของหัวใจควรจะเป็นอย่างไรแต่ก็มีวิจัยทางการแพทย์ที่บ่งชี้ว่าหากผู้ใดมีอัตราการเต้นหัวใจขณะพักที่เร็วอาจจะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
อัตราการเต้นของหัวใจที่ช้าสามารถบ่งชี้ว่า:
- มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
- ได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เช่น รับยาควบคุมความดันเพื่อรักษาปัญหาหัวใจ การบำบัดความเครียดเพื่อป้องกันไมเกรน หรือ รับยาควบคุมความดันโลหิตเพื่อป้องกันสภาวะความดันโลหิตสูง หัวใจวาย และหัวใจล้มเหลว
- ง่วงนอน (แต่หัวใจอาจจะมีอัตราการเต้นที่เร็วขึ้นในขณะที่กำลังฝัน)
ในขณะเดียวกันอัตราการเต้นหัวใจที่ช้าสามารถบอกปัญหาได้ดังนี้:
- ความเสี่ยงต่อการหัวใจวายและโรคเกี่ยวกับหัวใจ
- การติดเชื้อ เช่น โรคไลม์ หรือ ไข้ไทฟอยด์
- โพแทสเซียมในเลือดสูง
- ภาวะขาดไทรอยด์
อัตราการเต้นหัวใจสูงสุด
อัตราการเต้นหัวใจสูงสุดคือภาวะที่หัวใจเต้นในอัตราเร็วสูงเพื่อให้ออกซิเจนไหลเวียนตามที่ร่างกายต้องการ อัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจจะมีส่วนในการควบคุมการเผาผลาญพลังงานของร่างกายโดยใช้ออกซิเจน หรือ ปริมาณสูงสุดของออกซิเจนที่ใช้ตอนออกกำลังกาย ดังนั้นผู้ที่มีอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดในอัตราที่เร็วร่างกายจะสามารถเผาผลาญพลังงานได้ดี นอกจากนี้ จากยังการวิจัยค้นคว้าวิจัยที่อธิบายการมีอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดและการเผาผลาญที่ดีจะลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจวาย อัตราการเต้นหัวใจสูงสุดสามารถคำนวณได้ด้วยการนำวิธีการเอา 220 ลบกับอายุของตนเองเพื่อให้รู้ว่าอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดของตนเองควรอยู่ที่เท่าใดตามเกณฑ์อายุ ยกตัวอย่างเช่น หากคุณอายุ 27 ปี ให้นำ 220-27 ซึ่งหมายความว่าอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดของคุณควรอยู่ที่ 193
อาการหัวใจเต้นเร็วสามารถเกิดจากการขยับร่างกายหรือการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น:
- การออกกำลังกาย โดยเฉพาะการออกกำลังกายอย่างหนักที่ทำให้มีเหงื่อออกมาก
- อาการกังวล หรือ อาการตื่นเต้น
- การกระตุ้นร่างกายด้วยคาเฟอีน
- การตั้งครรภ์