หัวเว่ย เปิดตัว 10 โมเดลใหม่จากผลิตภัณฑ์ซีรี่ส์ AirEngine Wi-Fi 6 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พร้อมมอบบริการที่เหนือชั้นยิ่งกว่าให้ธุรกิจและองค์กรต่างๆ ช่วยตอบโจทย์การวางรากฐานการเชื่อมต่อไร้สายคุณภาพสูงในแคมปัสได้อย่างสมบูรณ์แบบ นับเป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันในระดับองค์กรธุรกิจ

ผลิตภัณฑ์ซีรี่ส์ AirEngine Wi-Fi 6 จากหัวเว่ย โดดเด่นด้วยหลากหลายเทคโนโลยีนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นเสาอากาศอัจฉริยะรองรับช่องสัญญาณแบบคู่ที่โดดเด่นไม่เหมือนใครในตลาด การโรมมิ่งแบบไร้รอยต่อ และ เทคโนโลยีเร่งความเร็วในการประมวลผลแอปพลิเคชันอัจฉริยะ (Dynamic Turbo) โดยหนึ่งในโมเดลใหม่นี้ คือซีรี่ส์ AirEngine Wi-Fi 6 8760 รุ่นเรือธง ที่สามารถส่งข้อมูลได้ถึง 16 ชุด ซึ่งถือว่ามากที่สุดในอุตสาหกรรม จึงมอบความเร็วสัญญาณไร้สายได้ถึง 10 Gbps หรือมากกว่า

ทั้งนี้ หัวเว่ย คาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ. 2566 จะมีการใช้งาน Wi-Fi 6 ในกลุ่มองค์กรธุรกิจกว่าร้อยละ 90 จึงเรียกได้ว่า Wi-Fi คือเทคโนโลยีเครือข่ายสำคัญที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวณการในการผลิตและให้บริการขององค์กรธุรกิจให้เป็นรูปแบบดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายหลี่ ซิง ประธานด้านเครือข่ายโดเมนแคมปัส ฝ่ายผลิตภัณฑ์การสื่อสารข้อมูลของหัวเว่ย กล่าวว่า “การให้บริการแบบดิจิทัลในกลุ่มองค์กรธุรกิจกำลังเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง เครือข่าย Wi-Fi 5 ในปัจจุบันมักพบกับอุปสรรคในการรองรับการให้บริการใหม่ๆ เหล่านี้”

นายหลี่ ซิง กล่าวเสริมว่า “ยกตัวอย่างเช่น ในแคมปัสสำนักงานที่ใช้สัญญาณไร้สายทั้งหมด แอปพลิเคชันใหม่ๆ อย่างเทคโนโลยี AR, VR, และ 4K ได้ลดทอนศักยภาพและความเร็วของเครือข่ายในปัจจุบัน ในขณะเดียวกัน เครือข่าย Wi-Fi ที่ใช้งานในภาคการผลิตก็ไม่อาจมอบความสามารถในการเชื่อมต่อและการส่งข้อมูลที่เสถียรเพียงพอกับความต้องการ ในทางกลับกัน แคมปัสสาธารณะที่ใช้สัญญาณไร้สายเต็มรูปแบบมักจะต้องครอบคลุมพื้นที่ใช้งานที่กว้างขวาง ทั้งยังต้องรองรับการใช้งานสำหรับผู้ใช้อุปกรณ์มือถือจำนวนมาก แต่เครือข่ายไร้สายในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถส่งมอบสัญญาณที่ครอบคลุมได้อย่างต่อเนื่อง และยังขาดความเสถียร จึงไม่อาจตอบโจทย์ให้กับผู้ใช้ได้อย่างเต็มที่”

“เพื่อเป็นการตอบโจทย์ปัญหาดังกล่าว หัวเว่ย จึงนำเสนอมาตรฐานการสร้างเครือข่ายไร้สายรูปแบบใหม่สำหรับยุคสมัยของ Wi-Fi 6 โดยการสร้างเครือข่ายแคมปัสไร้สายความเร็วระดับ Gbps ที่ครอบคลุม และสามารถส่งต่อความเร็วสูงได้ในทุกสถานการณ์ เสริมประสบการณ์การเชื่อมต่ออย่างราบรื่น และให้บริการความเร็วระดับ 100 Mbps ได้ทุกที่” นายหลี่ ซิง กล่าวสรุป

แน่นอนว่า เทคโนโลยีที่เพิ่งได้รับการพัฒนาอย่าง 5G, IoT และ AI ต่างมีส่วนช่วยเร่งการสร้างโครงสร้างพื้นฐานรูปแบบใหม่ อย่างไรก็ตาม ศูนย์ข้อมูลหรือ Data Center ก็ถือเป็นหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานรูปแบบใหม่นี้ ซึ่งศูนย์ข้อมูลต่างๆ ได้พัฒนาจากยุคเวอร์ชวลไลเซชัน (virtualization) เข้าสู่ยุคสมัยแห่งความชาญฉลาด (intelligence) และเพื่อก้าวสู่ความล้ำสมัยเหล่านี้ หัวเว่ย ได้เปิดตัวโซลูชัน CloudFabric แบบใหม่ทั้งหมดที่พัฒนาขึ้นเพื่อรองรับยุคสมัยแห่งความชาญฉลาดโดยเฉพาะ

โซลูชัน CloudFabric สร้างขึ้นบนสวิตช์ CloudEngine อันโด่งดัง (พร้อมกับการฝังชิป AI และพอร์ทแบบ 400GE ที่มีความจุพอร์ทสูงสุด) อัลกอริทึม iLossless ที่ไม่เหมือนใครในภาคอุตสาหกรรม และ iMaster NCE ซึ่งเป็นระบบการจัดการและควบคุมการขับเคลื่อนของเครือข่ายอัตโนมัติ เมื่อได้ติดตั้งโซลูชัน CloudFabric ของหัวเว่ย ผู้ใช้บริการสามารถสร้างเครือข่ายศูนย์ข้อมูลที่มีความชาญฉลาดรอบด้าน และสร้างโครงข่าย ultra-broadband แห่งโลกอนาคตที่สามารถเชื่อมต่ออย่างไร้ที่ติ ซึ่งถือเป็นการนำศูนย์ข้อมูลทั้งหลายเข้าสู่ยุคอัจฉริยะ

นายอู๋ อี้เซิง ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายโซลูชันจากสำนักงานประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารเทคโนโลยีแห่งกลุ่มธุรกิจหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ กล่าวว่า “เทรนด์ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันขององค์กรธุรกิจกำลังก้าวเข้าสู่ยุคสมัยแห่งความชาญฉลาดที่นำเทคโนโลยี AI ไปใช้อย่างกว้างขวางในศูนย์ข้อมูลต่างๆ โดยโซลูชัน CloudFabric ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์แรกที่สร้างความชาญฉลาดอย่างสมบูรณ์แบบให้แก่เครือข่ายศูนย์ข้อมูลทั้งหมด ซึ่งช่วยผลักดันการขับเคลื่อนเครือข่ายแบบอัตโนมัติเข้าสู่ระดับ 3 เป็นครั้งแรกอีกด้วย เครือข่ายต่างๆ ที่ได้ผสานเข้ากับความอัจฉริยะนี้จะทำให้การให้บริการ AI และการสร้างมูลค่าจากข้อมูลมีประสิทธิภาพมากขึ้น และจะนำไปสู่การเร่งสร้างความสำเร็จทางธุรกิจขององค์กรธุรกิจต่างๆ นั่นเอง”

นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้จัดงาน IP Club Carnival ผ่านออนไลน์ ภายใต้แนวคิด “ทบทวนเครือข่าย IP (Internet Protocol) ร่วมสร้างกลไกเพื่อดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน” ไปเมื่อวันที่ 30 เมษายน ที่ผ่านมา

โดยมีจุดประสงค์เป้าหมาย ภายใต้สถานการณ์ของโรคระบาดในปัจจุบัน ช่วยกลุ่มลูกค้าเอ็นเตอร์ไพรส์ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกให้สามารถสร้างกลไกในการเปลี่ยนเข้าสู่ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยกิจกรรมออนไลน์ที่จะช่วยจุดประกายความคิดในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมกว่า 25,000 คนจากกลุ่มลูกค้าเอ็นเตอร์ไพรส์และกลุ่มพาร์ทเนอร์ในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ ภาครัฐ การคลัง พลังงาน การขนส่ง การสาธารณสุข รวมไปถึงภาคการศึกษาอีกด้วย

SHARE
คนเล่าเรื่องไอที ที่เชื่อว่าการได้เดินทางและการพบปะพูดคุยกับผู้คนในสายงานต่าง ที่ไม่คุ้นเคยคือกำไรชีวิต...หลงไหลในการเดินทางเป็นชีวิตจิตใจ ตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อได้เจอเจ้าหน้าที่ ตม.
RELATED POSTS
realme C3 สมาร์ทโฟน 3 เลนส์ เกมแรง วางจำหน่ายทั่วประเทศแล้ววันนี้
“ทรู คอร์ปอเรชั่น” เสริมศักยภาพเครือข่ายใหม่ด้วยเทคโนโลยี 5G RAN จากอีริคสัน
Spotify เปิดตัวฟีเจอร์ My Top 5: Taylor Swift’s Eras เอาใจเหล่าสวิฟตี้

Leave Your Reply

*