Remote working หรือการทำงานจากระยะไกล โดยไม่ต้องเจอหน้ากันในออฟฟิศ ได้กลายเป็น “ความปกติใหม่” ของการทำงานทุกวันนี้อย่างรวดเร็ว

ขณะเดียวกัน การใช้เครื่องมือออนไลน์ต่างๆ ในการทำงานที่เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม ได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงานร่วมกันที่เพิ่มขึ้นของชาวเทเลนอร์ที่อยู่ในประเทศต่างๆ 9 ประเทศทั่วโลกรวมถึง ที่เทเลนอร์ร่วมถือหุ้นด้วย  ซึ่งรวมถึง ดีแทค

เมื่อเร็วๆ นี้ เทเลนอร์ในได้ทำการสำรวจสถานการณ์การทำงานของพนักงานเทเลนอร์ และบริษัทที่เทเลนอร์ถือหุ้นอยู่ด้วยจากนโยบายทำงานที่บ้าน อันเกิดจากข้อบังคับใหม่ของภาครัฐ ความต้องการใหม่ และวิถีการทำงานใหม่ ซึ่งเป็นผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19

จากการสำรวจ เราพบข้อสังเกตสำคัญจำนวน 10 ข้อ ได้แก่

พนักงานเทเลนอร์มีความสามารถในการปรับตัวและส่งต่อการทำงานได้ แม้จะไม่ได้เจอหน้ากันในบริษัทก็ตาม อย่างไรก็ตาม มีความจำเป็นในการใช้ความพยายามที่มากขึ้น ท่ามกลางความท้าทายที่สูงขึ้นตาม

54% ของผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่า พวกเขามีแรงผลักดันในการทำงานเพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากสภาพการทำงานปัจจุบัน ทำให้การทำงานของพวกเขามีประสิทธิผลมากขึ้น อย่างไรก็ตาม รายงานหลายฉบับต่างบอกว่าชั่วโมงการทำงานในระหว่าง Work From Home มีจำนวน “สูงขึ้น” และเส้นแบ่งระหว่างบ้านและงาน “ลดลง” ด้วยเหตุนี้ ทำให้ภาระและความรับผิดชอบของครอบครัวมีความท้าทายมากขึ้น ขณะที่สภาวะโดดเดี่ยวทางสังคม (Social isolation) มักเกิดขึ้นกับบุคคลที่ชีวิตอยู่คนเดียวอีกด้วย ผลการสำรวจบอกว่า ความท้าทายเหล่านี้มีระดับความเข้มข้นที่ต่างกัน ขึ้นกับพื้นฐานทางวัฒนธรรม อายุ และช่วงวัย

ในนอร์เวย์ พนักงานส่วนมากมีความรู้สึกเข้าถึงผู้บังคับบัญชาของเขามากขึ้น และมั่นใจว่าบริษัทสามารถรับมือกับวิกฤตนี้ได้

คะแนนการมีส่วนร่วมและความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร “สูงขึ้น” ในเทเลนอร์นอร์เวย์ โดยกว่า 80% บ่งชี้ถึงผลตอบรับที่ดีขี้น ขณะที่พนักงานหลายคนต่างเผชิญกับความท้าทายเกี่ยวกับโฮมสกูลของลูกๆ ตลอดจนปริมาณงานที่หนักขึ้นและไม่สามารถกระจายออกได้ภายใต้การทำงานในภาวะวิกฤต

ในสวีเดน พนักงานรู้สึกมีความเชื่อมั่นสูงในความเป็นผู้นำ

จากการสำรวจบอกว่า 9 ใน 10 ของพนักงานพึงพอใจต่อการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิกฤตและนโยบายการรับมือต่อวิกฤตของบริษัท พนักงานของเทเลนอร์ สวีเดนรู้สึกถึงการติดต่อสื่อสารกันระหว่างหัวหน้าและพนักงานในทีมมากขึ้น

ในเดนมาร์ก พนักงานส่วนใหญ่รู้สึกภูมิใจกับการปรับตัวกับการทำงานที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขณะเดียวกัน พนักงานหลายคนรู้สึกสูญเสียการมีปฏิสัมพันธ์แบบตัวต่อตัวระหว่างพนักงานด้วยกันเอง รวมถึงปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างไม่เป็นทางการ

ในฟินแลนด์ พนักงานไม่รู้สึกแปลกต่อการทำงานที่บ้าน เนื่องจากพวกเขามีการทำงานแบบยืดหยุ่น (flexible hours) มาหลายปีแล้ว

รายงานบอกว่าการทำงานของจากบ้านของพวกเขาไม่เพียงแต่เป็นไปด้วยดี แต่ 8 ใน 10 ของพนักงานกลับรู้สึกมีแรงผลักดันในการทำงานมากขึ้น เพื่อให้ผลงานที่ได้มากกว่าสิ่งที่คาดหวัง

ในมาเลเซีย พนักงานต่างบอกว่าพวกเขารู้สึกเชื่อมโยงถึงกันและกันมากขึ้น แม้จะอยู่ในระหว่างการบังคับใช้มาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม

เป็นที่แปลกใจอย่างมากที่ 99% ของผู้ตอบแบบสอบถามในมาเลเซียบอกว่า พวกเขารู้สึกใกล้กันมากขึ้นกับสมาชิกในทีม นอกจากนี้ 67% ของพนักงานมีความรู้สึกสนุกกับการทำงานที่บ้าน ขณะที่ส่วนที่เหลือบอกว่าพวกเขารู้สึกถึงความท้าทายที่มากขึ้น เมื่อเทียบจากการทำงานจากออฟฟิศ

ในประเทศไทย พนักงานดีแทคส่วนใหญ่เพิ่งเคยเจอกับสถานการณ์การทำงานที่บ้านเป็นครั้งแรก แต่ 90% ของพนักงานนั้นไม่รู้สึกถึงอุปสรรคที่ส่งต่อประสิทธิผลของงาน

8 ใน 10 ของพนักงานดีแทคต่างสนุกกับการทำงานที่บ้าน โดย 62% ของผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่าพวกเขาสามารถจัดการกับงานได้ในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ว่าพวกเขาสามารถปรับตัวเขาได้ดีกับการทำงานในวิถีใหม่ อย่างไรก็ตาม พนักงานต่างโฟกัสให้กับการทำงานเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินการได้อย่างปกติ ขณะเดียวกัน พวกเขาก็คิดถึงการทำงานแบบมีปฏิสัมพันธ์ เพราะทำให้การตัดสินใจต่างๆ เร็วขึ้น อันมาจากการสภาพการทำงานแบบเห็นหน้าคร่าตากัน

ในปากีสถาน 8 ใน 10 ของพนักงานเทเลนอร์ต่างรู้สึกว่าการทำงานของพวกเขามีประสิทธิผลและมีแรงผลักดันในการทำงานที่สูงขึ้นในระหว่างวิกฤตโควิด 19

แม้ว่า 94% ของพนักงานและผู้บังคับบัญชาจะรู้สึกใกล้ชิดกันมากขึ้นก่อนการบังคับใช้นโยบายทำงานที่บ้าน แต่ความท้าทายสำคัญที่เกิดขึ้นคือ “สภาวะความโดดเดี่ยว” ที่เกิดขึ้น ซึ่งกว่าครึ่ง (52%) มีความรู้สึกเช่นนั้น ขณะที่ 45% มีความรู้สึกกังวลต่อผลกระทบต่อชีวิตจากวิกฤตโควิด 19

ในบังคลาเทศ พนักงานกรามีนโฟนสามารถตอบสนองต่อการทำงานที่บ้านได้อย่างดีเยี่ยม โดยราว 90% ของพนักงานบอกว่าพวกเขาทำงานอย่างมีประสิทธิผลกว่าที่เคยเป็นมา

พวกเขารู้สึกใกล้กันมากขึ้นและรู้สึกถึงความห่วงใยที่มีให้กันและกัน โดย 96% ของผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่าพนักงานและผู้บังคับบัญชามีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันผ่านช่องทางสื่อสารต่างๆ บ่อยมากขึ้น ขณะเดียวกัน ต่างพบความท้าทายเดียวกัน นั่นคือ การใช้เวลาบนจอคอมพิวเตอร์ที่มากขึ้น รวมถึงระยะเวลาในการทำงานแต่ละวันที่มากขึ้นเช่นกัน

ในพม่า พนักงานพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าพวกเขาไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิกฤต

ผู้ตอบแบบสอบถาม 100% บอกว่า พวกเขาได้รับการอัพเดทข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิกฤตอย่างทันท่วงที นอกจากนี้ ยังพบว่า การวางแผนการใช้ชีวิตในแต่ละวันมีผลอย่างยิ่งต่อประสิทธิผลในการทำงาน โดย 95% ของพนักงานเทเลนอร์ เมียนมาร์ บอกว่า พวกเขามีการจัดวางโครงสร้างการทำงานในแต่ละวันด้วยตัวเอง ทำให้สามารถจัดการกับปริมาณและเวลาในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น

SHARE
คนเล่าเรื่องไอที ที่เชื่อว่าการได้เดินทางและการพบปะพูดคุยกับผู้คนในสายงานต่าง ที่ไม่คุ้นเคยคือกำไรชีวิต...หลงไหลในการเดินทางเป็นชีวิตจิตใจ ตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อได้เจอเจ้าหน้าที่ ตม.
RELATED POSTS
ซัมซุงเปิดตัว Galaxy A06 รุ่นใหม่ พร้อมฟีเจอร์เด่นด้านความเร็ว การชาร์จ และความปลอดภัย
‘JOOX’ จับมือ ‘เครื่องดื่มตราช้าง’ เปิดตัวโปรเจกต์พิเศษ ‘ช้าง เฟรนด์เดย์ ฟันเดย์ พรีเซนต์ JOOX สปอร์ตไลท์ ทัวร์ 2021’
ตอกย้ำความสำเร็จ realme การันตีด้วยรางวัลชั้นนำจากหลายประเทศในปี 2562

Leave Your Reply

*