นายเคน หู รองประธานกรรมการบริหารของหัวเว่ยเผยวิสัยทัศน์และแผนการดำเนินงานของหัวเว่ยด้านการศึกษา ภายใต้แนวคิดการผนวกเทคโนโลยีดิจิทัล หรือ TECH4ALL ในงานสัมมนาผ่านเว็บไซต์ภายใต้หัวข้อการศึกษาระดับโลก (Global Education Webinar) ที่ใช้ชื่อว่า “ขับเคลื่อนความเสมอภาคและคุณภาพด้วยเทคโนโลยี (Driving Equity and Quality with Technology)” ย้ำ “การเชื่อมต่อโรงเรียนและการพัฒนาทักษะคือ 2 แนวทางหลักสำหรับหัวเว่ย เพื่อปรับปรุงความเสมอภาคและคุณภาพการศึกษา”
งานสัมมนาดังกล่าวมีกลุ่มผู้นำและผู้เชี่ยวชาญจากทั้งองค์กรยูเนสโก (UNESCO) องค์กรกำกับดูแลมาตรฐานการสื่อสาร (Global System for Mobile Communications – GSMA) กระทรวงการศึกษาแห่งชาติของประเทศเซเนกัล มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาต่างๆ ของภาคภาคเอกชนเข้าร่วม
การพัฒนาความเสมอภาคและคุณภาพทางการศึกษาด้วยเทคโนโลยี
ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีดิจิทัลจะมีบทบาทสำคัญในด้านการศึกษา แต่ยังมีประชากรอีกกว่า 50% ทั่วโลก ที่ไม่สามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ และมีอีกมากมายที่ยังขาดทักษะจำเป็นสำหรับการใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัล ด้วยเหตุนี้ ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลในโลกการศึกษาจึงขยายตัวกว้างขึ้น นายเคน หู กล่าวว่า “เราเชื่อว่าทุกคนไม่ว่าจะอยู่ ที่ใด ก็มีสิทธิ์ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันในฐานะบริษัทด้านเทคโนโลยี หัวเว่ยจึงตั้งใจจะมอบความช่วยเหลือด้วยการเชื่อมต่อ, แอปพลิเคชัน และทักษะต่างๆ โดยเน้น 2 แนวทางหลัก ได้แก่ การมอบการเชื่อมต่อระหว่างโรงเรียนต่างๆ เข้าด้วยกัน และการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล”
นายเคน หู รองประธานกรรมการบริหารของหัวเว่ยกล่าวเปิดงานสัมมนา
ด้านการส่งมอบการเชื่อมต่อแก่โรงเรียนต่างๆ หัวเว่ยจะช่วยสนับสนุนผ่านการมอบการเข้าถึงทรัพยากรทางการศึกษาคุณภาพสูง เช่น หลักสูตรการศึกษาในรูปแบบดิจิทัล แอปพลิเคชันสำหรับการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) รวมถึงการฝึกอบรมครูและนักเรียนด้วยการมอบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตให้แก่โรงเรียนจากกลุ่มพาร์ทเนอร์ เมื่อเร็วๆ นี้ ในประเทศแอฟริกาใต้ หัวเว่ยได้เปิดตัวโครงการ DigiSchool ภายใต้การร่วมมือกับพาร์ทเนอร์เรน (Rain)
ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเครือข่าย และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรด้านการศึกษาอย่างมูลนิธิคลิก (Click Foundation) โดยมุ่งเน้นมอบการเชื่อมต่อให้แก่โรงเรียนประถมทั้งในเขตเมืองและพื้นที่ชนบท 100 แห่งภายในปีหน้า เพิ่มเติมจากทั้งหมด 12 แห่งที่เชื่อมต่อกับเทคโนโลยี 5G เป็นที่เรียบร้อย “ในการศึกษารูปแบบดิจิทัล เราไม่เพียงแก้ปัญหาวิกฤติด้านความสามารถด้านการอ่านเขียนของประเทศ แต่เรายังได้มอบทักษะด้านดิจิทัลที่จำเป็นต่อความสำเร็จในอนาคตแก่เยาวชนอีกด้วย” นายนิโคลา แฮร์ริส ประธานกรรมการบริหาร มูลนิธิคลิกกล่าวเสริมในการสัมมนาผ่านเว็บไซต์
ด้านการพัฒนาทักษะทางดิจิทัล หัวเว่ยได้วางแผนจัดการฝึกอบรมทักษะทางดิจิทัลให้แก่กลุ่มที่ยังขาดทักษะด้านดังกล่าวในพื้นที่ห่างไกล โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนหญิงผ่านโครงการต่างๆ เช่น โครงการ DigiTruck ในชื่อ ‘ล้อแห่งทักษะ – Skills on Wheels’ นับตั้งแต่การเปิดตัวโครงการ DigiTruck ในประเทศเคนยาเมื่อปลายปีที่ผ่านมา โครงการดังกล่าวได้จัดการฝึกอบรมแก่เยาวชนและคุณครูมากกว่า 1,500 คน ในพื้นที่ชนบท
โดยหัวเว่ยมุ่งหวังจะจัดโปรแกรมในลักษณะเดียวกันนี้ในประเทศฝรั่งเศส ฟิลิปปินส์และประเทศอื่นๆ ภายใน 2 ปีข้างหน้า “ห้องเรียนดิจิทัลเคลื่อนที่เหล่านี้ทำงานโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และเพียบพร้อมด้วยการเข้าถึงโครงข่ายไร้สาย ซึ่งสามารถเข้าไปปฏิบัติการได้แม้จะอยู่ในชุมชนที่ห่างไกลจากตัวเมืองก็ตาม” นายโอลิวิเย่ร์ แวนเด็น อายน์ด ประธานกรรมการบริหารองค์กรโคสเดอะแก๊บ (Close the Gap) ซึ่งเป็นพาร์ทเนอร์หลักของ DigiTruck กล่าว
ยกระดับศักยภาพรับมือโควิด-19
หัวเว่ยได้ยกระดับความมุ่งมั่นผ่านแนวคิด TECH4ALL เพื่อสนับสนุนกลุ่มพันธมิตรทางการศึกษาระดับโลกขององค์กรยูเนสโก (UNESCO’s Global Education Coalition) ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อรับมือกับความท้าทายระดับโลกที่ส่งผลต่อการศึกษาเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ดังจะเห็นได้จากภารกิจต่างๆ เช่น การรวมพลังกับกลุ่มพันธมิตรยูเนสโก และกระทรวงการศึกษาแห่งชาติของประเทศเซเนกัล สนับสนุนการดำเนินการด้านการศึกษาทางไกลอย่างต่อเนื่องในช่วงที่มีการแพร่ระบาด
ทำให้กลุ่มคุณครูในพื้นที่ได้รับการเชื่อมต่อ
อุปกรณ์ดิจิทัล และการฝึกอบรมทักษะซึ่งเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนมากกว่า
100,000 คน “วิกฤติครั้งนี้ได้เปลี่ยนโฉมและเปลี่ยนอนาคตของภาคการศึกษา
ทั้งยังชี้ให้เห็นว่าโครงการความร่วมมือสามารถทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วเพียงใดเมื่อความเชี่ยวชาญและทรัพยากรมาบรรจบกับความต้องการในพื้นที่
จึงสร้างความมั่นใจได้ว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนแถบชนบทที่อยู่ห่างไกลที่สุด”
ในขณะเดียวกัน
เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา HUAWEI ICT Academy ได้เปิดตัวโครงการ
“Learn ON”
โดยมีจุดประสงค์คือสร้างความตระหนักถึงความต้องการทางการศึกษาของผู้มีความสามารถด้าน
ICT ในกลุ่มมหาวิทยาลัยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด
โปรแกรมดังกล่าวเป็นการรวมกลุ่มพาร์ทเนอร์มหาวิทยาลัยระดับโลกเข้าด้วยกัน
ทั้งยังได้มอบทุนส่งเสริมความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย ซึ่งจะสามารถนำไปใช้สำหรับหลักสูตรการเรียน, การสอบ, การทดลองในรูปแบบออนไลน์ และอื่นๆ พร้อมกันนี้ยังได้มอบทรัพยากรหลักสูตรการเรียนออนไลน์ที่เปิดกว้างและรองรับนักเรียนจำนวนมาก (Massively Open Online Courses – MOOC) มากกว่า 300 หลักสูตร ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมเทคโนโลยีล้ำสมัย เช่น เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI, Big Data, 5G และ Internet of Things เป็นต้น
ความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชน ในการเร่งแก้ปัญหาทางการศึกษา
งานสัมมนาผ่านเว็บไซต์ในครั้งนี้เน้น 2 หัวข้อหลัก ได้แก่ “การเรียนรู้ทางไกลเพื่อความต่อเนื่องทางการศึกษาที่ดีกว่า” และ “นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ที่ครอบคลุม” ภายในงานยังมีการหารือถึงหลักปฏิบัติที่ดีที่สุดและการแบ่งปันประสบการณ์จากประเทศจีน ฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เซเนกัล แอฟริกาใต้ และประเทศอื่นๆ
โดยนายบอร์รีน
ชาครูน ผู้อำนวยการแผนกนโยบายและระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตขององค์กรยูเนสโก
(UNESCO’s Policy and Lifelong Learning Systems) กล่าวย้ำว่า
“ด้วยจำนวนครูระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาอย่างน้อย 63
ล้านคนที่ได้รับผลกระทบ การระบาดของโควิด-19
ชี้ให้เห็นถึงความต้องการด้านการพัฒนาศักยภาพของครูให้สามารถจัดการการเรียนรู้ทางไกลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมการด้านการศึกษาและการฝึกอบรมต่างๆ
ในอนาคต”
นอกจากนี้
ผู้เข้าร่วมงานยังมีมติว่าความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนนั้นเป็นกุญแจสำหรับการส่งเสริมการศึกษาที่ครอบคลุมผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล
“ในปีนี้กลุ่มประเทศที่มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลางได้เรียนรู้บทเรียนมากมาย
และได้ปรับการให้บริการ
ตระหนักถึงความต้องการของผู้ใช้และตอบรับกับผลกระทบจากการระบาดทั่วโลกด้วยการพัฒนาธุรกิจและกลุ่มพันธมิตรสำคัญ
โดยปัจจุบันองค์กรกำกับดูแลมาตรฐานการสื่อสาร (GSMA) และอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ ได้ให้การสนับสนุนและจะยืนหยัดมอบการสนับสนุนในระยะยาวให้แก่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรสหประชาชาติ ในยุคสมัยแห่งการเป็นผู้นำด้านจริยธรรม” นางสเตฟานี ลีนช์-ฮาบิบ ผู้บริหารฝ่ายการตลาดแห่ง GSMA กล่าวเสริม
ทั้งนี้ ความสำเร็จด้านการผนวกเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับการศึกษานั้นจำเป็นต้องอาศัยความพยายามจากทุกภาคส่วน ทั้งจากภาครัฐ องค์กรต่างๆ ในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงสถาบันการศึกษาและบริษัททางเทคโนโลยี ที่จะให้การสนับสนุนด้วยประสบการณ์และทรัพยากรของพวกเขา
ท้ายที่สุดแล้วสิ่งนี้จะช่วยเร่งการมุ่งสู่ความสำเร็จของเป้าหมาย SDG ในลำดับที่ 4 (อันได้แก่ “การสร้างหลักประกันให้การศึกษามีคุณภาพอย่างเท่าเทียม ครอบคลุมและส่งเสริมโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับทุกคน”) ภายในปี พ.ศ. 2573 ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานสัมมนาผ่านเว็บไซต์ด้านการศึกษาระดับโลก (Global Online Education)
โดยสามารถคลิก ที่นี่ เพื่อรับชมวีดีโอ รับชมการกล่าวสุนทรพจน์ของนายเคน หู พร้อมอ่านข้อความบล็อกโพสต์ด้านการศึกษา กรุณาไปที่ https://blog.huawei.com/2020/06/23/driving-education-equality-with-technology/