การชาร์จระบบ Qi คือเทคโนโลยีใหม่ที่มาแรงสำหรับการชาร์จแบตเตอรี่ให้ผลิตภัณฑ์ไร้สาย แต่ผลิตภัณฑ์ งQi คืออะไรและมีหลักการทำงานอย่างไร?

หากคุณสนใจหาซื้อผลิตภัณฑ์ไร้สายอย่างสมาร์ตโฟน หูฟัง หรือเมาส์ คุณอาจสังเกตเห็นผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ที่มีจุดเด่นคือ “การชาร์จระบบ Qi” ถึงแม้ชื่อจะฟังดูแปลก แต่จริง ๆ แล้วก็ไม่ได้ลึกลับขนาดนั้น โดยความจริงแล้วจะเกี่ยวข้องกับการถ่ายโอน “พลังชีวิต” เข้าสู่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของคุณ

ซึ่งการชาร์จระบบ Qi จะเป็นในลักษณะไร้สายเชื่อมต่อ ที่จะทำการชาร์จไฟให้แบตเตอรี่ด้วยไฟฟ้าผ่านคุณสมบัติที่มีความมหัศจรรย์ของแม่เหล็ก นี่คือความหมายของการชาร์จระบบ Qi และวิธีการทำงานของระบบนี้

Qi คือชื่อมาตรฐานอุตสาหกรรมสำหรับการถ่ายโอนพลังงานแบบไร้สายรูปแบบหนึ่ง ด้วยการชาร์จแบตเตอรี่โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับเต้าเสียบไฟฟ้าหรือเครื่องแปลงไฟ วิธีการชาร์จแบบนี้ถูกนำมาใช้งานสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคมาตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 1990 ซึ่งส่วนใหญ่แล้วใช้กับแปรงสีฟันไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ไม่ควรเชื่อมต่อกับไฟฟ้าโดยตรง

แต่ปัจจุบันนี้การชาร์จระบบ Qi ได้สร้างมาตรฐานให้กับวิธีที่ผู้ผลิตใช้ในการสร้างอุปกรณ์ชาร์จและแบตเตอรี่ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งนับเป็นเรื่องดีสำหรับผู้บริโภคที่ไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องแบตเตอรี่ร้อน หรือการชาร์จแบตเตอรี่มากเกินไปจนเป็นอันตราย

Qi ถูกใช้เป็นมาตรฐานมาตั้งแต่ปี 2008 แต่เราเพิ่งเริ่มเห็นว่ามีการขยายตัวในผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคเช่นสมาร์ตโฟนและหูฟัง เช่น HyperX Cloud Flight S ซึ่งชื่อของ Qi เมื่อคุณออกเสียงคำนี้ว่า “ชี่” จะเป็นการอ้างอิงถึงคำภาษาจีนที่หมายถึงพลังงานหรือพลังชีวิตนั่นเอง

(Image: HyperX Cloud Flight S)

กระบวนการชาร์จของ Qi อาจดูลึกลับเปรียบได้กับอารยธรรมโบราณของจีน แต่กลับเป็นวิทยาศาสตร์ที่เรียบง่าย อย่างไรก็ตาม การส่งกระแสไฟฟ้า โดยปราศจากสายนั้น ไม่ได้เป็นแนวคิดใหม่แต่อย่างใด หากย้อนกลับไปในช่วงศตวรรษที่ 19 เจ้าพ่อสุดเจ๋งของวงการอาวุธในวีดีโอเกม Nikola Tesla ได้หาวิธีถ่ายโอนพลังงานด้วยการใช้แม่เหล็ก ความคิดของเขามีพื้นฐานมาจากการทำงานของนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ Michael Faraday ในปี 1831

ซึ่งใครก็ตามก็สร้างสนามแม่เหล็กได้ โดนการพันลวดรอบๆ แท่งเหล็ก แล้วส่งกระแสไฟฟ้าผ่านมัน ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานเดียวกันมาจนทุกวันนี้ เพียงแต่แทนที่จะใช้แท่งทาวเวอร์ขนาดใหญ่ ก็เป็นเพียงขดลวดเล็ก ๆ อยู่ภายในแท่นชาร์จพิเศษเหล่านี้

แท่นชาร์จนี้ อย่างเช่นบน HyperX ChargePlay มีขดลวดยาวเรียงตัวอยู่อย่างหนาแน่น จากนั้นขดลวดนี้ก็จะมีไฟฟ้ากระแสสลับผ่านมายังเต้าเสียบของคุณ และต้องขอบคุณกฏการเหนี่ยวนำของ Faraday ที่สิ่งนี้จะสร้างสนามแม่เหล็กรอบขดลวด

จากกฏเดียวกันนี้ หมายความว่า ขดลวดอื่นๆ ภายในสนามแม่เหล็กนั้น จะให้ผลตรงกันข้ามกับสนามแม่เหล็กที่ย้อนกลับมาเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสสลับในขดลวด หากขดลวดเส้นที่สองต่ออยู่กับแบตเตอรี่ในเมาส์ไร้สายของคุณ มันก็จะทำการชาร์จไฟ เช่นเดียวกับการต่อเข้ากับที่ชาร์จเช่นกัน

(Image: HyperX ChargePlay Base)

 อาจฟังดูแล้วซับซ้อน แต่ความหมายก็คือ แทนที่จะต้องคอยคลำหาสายมาต่อสำหรับชาร์จ คุณสามารถวางอุปกรณ์ลงบนแท่นชาร์จและขดลวดจะทำสิ่งนั้นให้แทน ซึ่งน่าอัศจรรย์ที่เรากำลังจะเริ่มมองเห็นและได้ใช้งานเทคโนโลยี “ใหม่” ที่เคยถูกคิดค้นมานานกว่า 150 ปีที่แล้ว

เมื่อคุณเรียนจบหลักสูตรระยะสั้นของเราเกี่ยวกับการชาร์จด้วย Qi คุณอาจจะได้ความรู้เพิ่มขึ้นไม่มากก็น้อย และน่าจะทำให้คุณก็ทราบดีว่าควรจะซื้อที่ชาร์จไร้สายอย่างไรดี ที่สำคัญคือ ขอให้เชื่อมั่นในมาตรฐาน Qi ที่ได้รับการพัฒนามาอย่างยาวนาน

SHARE
คนเล่าเรื่องไอที ที่เชื่อว่าการได้เดินทางและการพบปะพูดคุยกับผู้คนในสายงานต่าง ที่ไม่คุ้นเคยคือกำไรชีวิต...หลงไหลในการเดินทางเป็นชีวิตจิตใจ ตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อได้เจอเจ้าหน้าที่ ตม.
RELATED POSTS
“Netflix” เตรียมขึ้นราคาค่าสมาชิกรายเดือนอีกครั้ง ในหลายประเทศ เร็ว ๆ นี้
“Kaspersky” เผย 2023 ไทยพบการโจมตีออนไลน์ลดลงภัยคุกคามออฟไลน์เพิ่มขึ้น
iPhone 11 Pro vs. 14 Pro อะไรคือความเปลี่ยนแปลง คุณได้เวลาเปลี่ยนใหม่หรือยัง?

Leave Your Reply

*