ปี 2563 ที่ผ่านมาสร้างความเปลี่ยนแปลงในทุกมิติของสังคม ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตของผู้คน รูปแบบการทำงาน และการใช้เวลาว่างของเรา

ขณะที่เราพิจารณาถึงผลกระทบของโควิด-19 ที่มีต่อผู้คนและเศรษฐกิจอยู่นั้น ช่วงเวลานี้ยังถือเป็นโอกาสให้เราได้ทบทวนและวางแผนงานในอนาคตสำหรับประเทศไทยในวันข้างหน้า

ขณะที่ประเทศไทยกำลังเผชิญความท้าทายด้านเศรษฐกิจและสังคมซึ่งก่อตัวจากการกลับมาอีกครั้งของโรคระบาด บทบาทของการสื่อสารเพื่อการเชื่อมต่อกันและทำธุรกรรมทางช่องทางออนไลน์จึงยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น

นี่คือโรคระบาดระดับโลกครั้งแรกในยุคดิจิทัล ในฐานะบริษัทด้านเทคโนโลยีที่เชื่อมต่อผู้คนทั่วโลกหลายพันล้านคน เข้าด้วยกัน Facebook ได้เห็นปรากฏการณ์ Digital Transformation ที่เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดและย่นระยะเวลาในการปรับตัวด้านดิจิทัลจากเดิมที่มีการคาดการณ์ว่าต้องใช้เวลาในการเติบโตถึง 5 ปี ให้สามารถเกิดขึ้นได้เพียงเวลาไม่กี่เดือน

ผู้คนใช้เวลาบนโลกออนไลน์กันมากยิ่งขึ้น โดยใช้สำหรับเชื่อมต่อกับผู้อื่น ทำงาน จับจ่ายใช้สอย เล่นเกม และอื่นๆ และเนื่องจากความไม่แน่นอนทางด้านเศรษฐกิจ ความคาดหวังของผู้คนที่มีต่อธุรกิจต่างๆ ก็ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วกว่าที่เคยเป็นมา

ด้วยเหตุนี้เอง ภาคธุรกิจต่างๆ จึงมีโอกาสที่จะเป็นเป็นแรงผลักดันเพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจสำหรับอนาคตที่จะมาถึง สำหรับภูมิภาคเอเชียแล้ว ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีสัดส่วนในผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP ประเทศคิดเป็น  ร้อยละ 40-60 ภาคส่วนต่างๆ จึงต้องพึ่งพาการอยู่รอดและการฟื้นตัวของธุรกิจเอสเอ็มอีเหล่านี้ และเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ แบรนด์ต่างๆ จึงจำเป็นต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วให้สามารถตอบสนองกับความต้องการของผู้บริโภคทั้งออนไลน์และออฟไลน์ พร้อมทั้งหาแนวทางใหม่ๆ ในการส่งมอบสินค้าและการบริการ

มีตัวอย่างให้เห็นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ร้านชาบูที่หันมาจำหน่ายชุดหม้อชาบูสำหรับรับประทานที่บ้านผ่านบริการการส่งข้อความ สถานที่ออกกำลังกายที่จัดกิจกรรมผ่านทางไลฟ์สตรีมมิ่ง รวมถึงการเรียนการสอนที่จัดขึ้นออนไลน์แบบ เต็มรูปแบบ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นเรื่องจริงที่ธุรกิจต่างๆ ได้ช่วยสร้างสรรค์นวัตกรรมเชิงพาณิชย์ในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา

แพร ดํารงค์มงคลกุล – Country Director, Facebook ประเทศไทย

สำหรับ Facebook แล้ว เราอยู่ตรงกลางระหว่างชุมชนและการค้าขาย ซึ่งธุรกิจสามารถได้รับแรงบันดาลใจจากเทรนด์มากมายที่เราสังเกตเห็น

ก่อนหน้านี้ เราได้แบ่งปันเนื้อหาเกี่ยวกับเทรนด์โซเชียลมีเดียที่น่าจับตามองบนแพลตฟอร์มของเราทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ เทรนด์การใช้โทรศัพท์มือถือ การรับชมเนื้อหาในรูปแบบวิดีโอ การแชร์ประสบการณ์แบบชั่วคราว การส่งข้อความ และอีคอมเมิร์ซ ขณะที่เราก้าวเข้าสู่ปี 2564 เทรนด์ทั้งหมดนี้ยิ่งมีสำคัญมากยิ่งขึ้น

ซึ่งหมายความว่าธุรกิจทุกๆ ขนาดต้องปรับตัวเข้าสู่การขายออนไลน์ แม้ว่าหน้าร้านจะยังคงมีบทบาทสำคัญในเชิงสังคมและความเป็นอยู่ที่ดีทางเศรษฐกิจ อีคอมเมิร์ซจะยังคงอยู่ต่อไป อันที่จริงร้อยละ 45 ของผู้บริโภคชาวไทยหันมาซื้อของบนช่องทางออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ในปีที่ผ่านมา

เรามาเจาะลึกกันว่าเทรนด์ต่างๆ เหล่านี้จะส่งผลต่อธุรกิจในประเทศไทยอย่างไรและธุรกิจต่างๆ ควรให้ความสำคัญกับเทรนด์ใดบ้างในปี 2564

การใช้งานมือถือและความนิยมของวิดีโอสั้น

เราเคยพูดถึงความนิยมของวิดีโอที่เติบโตในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ปี 2563 นับเป็นปีที่ได้ทำลายทุกสถิติจากการที่ผู้คนหันมาใช้เวลาอยู่ที่บ้านมากขึ้นอันเป็นผลมาจากมาตรการล็อกดาวน์และการรักษาระยะห่างทางสังคม ยกตัวอย่างปรากฏการณ์ไลฟ์สตรีมในช่วงล็อกดาวน์ซึ่งได้ผลักดันการเติบโตของการไลฟ์สตรีมทั่วโลกในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน ถึงร้อยละ 45 ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีจำนวนผู้รับชมวิดีโอในรูปแบบดิจิทัลร้อยละ 77.5 ในขณะเดียวกัน วิดีโอสั้นยังได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากผู้คนต่างมองหาพื้นที่สำหรับการแสดงออกถึงตัวตนและเพื่อเข้าถึงความบันเทิง

จากเทรนด์เหล่านี้ เราคาดการณ์ว่าจะได้เห็นการเติบโตของการชอปปิ้งออนไลน์รูปแบบใหม่ที่ผสมผสานความบันเทิงและการขายสินค้าเข้าด้วยกัน ปลุกกระแสโดยผู้นำเทรนด์และเหล่าครีเอเตอร์ และสำหรับธุรกิจที่ต้องการเป็นที่จับตามองนั้น สิ่งสำคัญคือการพิจาณาสร้างสรรค์เอกลักษณ์ของแบรนด์ให้โดดเด่นบนโลกออนไลน์

การสร้างประสบการณ์การค้นพบแบรนด์และธุรกิจต่างๆ

ธุรกิจจำเป็นต้องเรียนรู้ว่าผู้คนในทุกช่วงอายุพร้อมเปิดรับช่องทางใหม่ๆ ในการค้นพบสินค้า รวมถึงวิถีการชอปปิ้งรูปแบบใหม่ อันที่จริง ในปี 2563 ที่ผ่านมา ร้อยละ 78 ของผู้บริโภคในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ค้นพบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ผ่านแรงบันดาลใจและอิทธิพลจากช่องทางออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ เทรนด์นี้ต้องอาศัยแนวคิดเชิงนวัตกรรม กล่าวได้ว่า ขณะนี้เป็นเวลาที่ต้องกล้าทดลองบริการใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น การซื้อของผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียโดยตรง การไลฟ์สดขายของ การซื้อของแบบ Click-And-Collect หรือบริการสมาชิกต่างๆ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังหมายความว่าธุรกิจควรค้นหาแนวทางใหม่ๆ สำหรับแต่ละช่องทางและแพลตฟอร์ม ทั้งนี้เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์และนำแบรนด์ออกสู่การค้นพบ ในปีนี้ เราได้เปิดตัว Instagram Shopping ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แบรนด์ต่างๆ สามารถเข้าถึงลูกค้าและนำไปสู่การขายสินค้า อีกทั้งยังได้เปิดตัวศูนย์ข้อมูลสำหรับธุรกิจ

กลยุทธ์การขายอื่นๆ อาจรวมถึงการนำเสนอประสบการณ์การซื้อขายเสมือนหน้าร้าน ผ่านวิดีโอแบบ 360 องศาที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ได้จากบ้านโดยใช้ฟิลเตอร์ AR หรือการใช้ Playable Ads ซึ่งเป็นโฆษณาที่มีลักษณะคล้ายเกมเพื่อสร้างสรรค์ประสบการณ์การทดลองสินค้าที่สนุกสนานยิ่งขึ้น

อีกแนวทางสำคัญคือการหาโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ท้องถิ่นที่สำคัญ เช่น มหกรรมชอป 9.9 และ 11.11 ซึ่งนับเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมใหม่ๆ ของผู้บริโภค เช่น การซื้อของขวัญให้ตัวเอง

การซื้อขายผ่านการทักแชทและการค้าข้ามพรมแดน

เทรนด์สุดท้ายที่น่าจับตามองคือ การซื้อขายผ่านการทักแชท (Conversational Commerce) และการค้าข้ามพรมแดน การส่งข้อความเป็นหนึ่งในช่องทางที่ผู้คนใช้เพื่อพูดคุยกับธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุด โดยในช่วงปีที่ผ่านมา เราได้เห็นจำนวนบทสนทนาระหว่างผู้บริโภคและแบรนด์ต่างๆ บน Messenger และ Instagram เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 40 และสำหรับ WhatsApp เราพบว่ามีผู้คนกว่า 175 ล้านคนทั่วโลกที่ส่งข้อความไปยังบัญชีธุรกิจในแต่ละวัน

การโทรศัพท์หรืออีเมลถึงแบรนด์เป็นตัวเลือกไม่ค่อยตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุคปัจจุบันมากนัก ยิ่งกว่านั้น ผู้บริโภคชื่นชอบการโต้ตอบแบบทันทีและทุกที่ทุกเวลา (always-on) ผ่านการส่งข้อความมากกว่า การเปลี่ยนแปลงนี้แสดงให้เห็นว่าช่องทางการส่งข้อความ ไม่ว่าจะเป็น เพื่อพูดคุยกับลูกค้าเกี่ยวกับข้อมูลผลิตภัณฑ์ อัปเดตสถานะการจัดส่ง และตอบคำถามทั่วไป นับเป็นสิ่งสำคัญ ขณะที่แวดวงอุตสาหกรรมต่างๆ เปิดรับการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ยังได้ช่วยสร้างโอกาสการค้าขายแบบข้ามพรมแดน

ดังนั้น ธุรกิจต่างๆ จึงจำเป็นต้องรู้จักสร้างเครือข่ายภายในภูมิภาคและพร้อมเปิดรับโอกาสใหม่ๆ อยู่เสมอ

เราทุกคนอยู่ในยุคการค้าขายรูปแบบใหม่ แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปคือการที่ผู้คนมักชื่นชอบการโต้ตอบกับธุรกิจในรูปแบบที่มีความเป็นมนุษย์ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละคน และมอบประสบการณ์แบบไร้รอยต่อ การค้นพบผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ได้กลายเป็นเสมือนประสบการณ์ทางด้านสังคม เราได้สังเกตเห็นถึงการแสดงออกอันเป็นเอกลักษณ์มากมายที่ตอบสนองต่อเทรนด์การค้าใหม่ในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็น การเชื่อมต่อกับแบรนด์โปรดผ่านการร่วมมือกันระหว่างแบรนด์และครีเอเตอร์ การร่วมสนับสนุนธุรกิจท้องถิ่นขนาดเล็กผ่านทาง Facebook Live เป็นต้น

ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะมีขนาดใหญ่หรือเล็ก สิ่งสำคัญคือต้องทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก ค้นหาง่าย อีกทั้งยังสามารถมอบประสบการณ์ผ่านการสนทนาและมอบบริการแบบไร้พรมแดน ทั้งหมดนี้ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ไม่เพียงแต่จะช่วยธุรกิจให้อยู่รอด แต่ยังคงเติบโตได้ต่อไป

SHARE
คนเล่าเรื่องไอที ที่เชื่อว่าการได้เดินทางและการพบปะพูดคุยกับผู้คนในสายงานต่าง ที่ไม่คุ้นเคยคือกำไรชีวิต...หลงไหลในการเดินทางเป็นชีวิตจิตใจ ตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อได้เจอเจ้าหน้าที่ ตม.
RELATED POSTS
Apple เปิดตัว MacBook Air รุ่น 15 นิ้ว กว้างเต็มตาเพื่อให้ผู้ใช้มองเห็นคอนเทนต์ได้มากขึ้น
Infinix เปิดตัวพร้อมขายมือถือ 5G รุ่นแรกของค่าย ZERO 5G
สวยสุดในตอนนี้ HUAWEI P30 Pro สี Misty Lavender สวยขนาดนี้ใครจะไหว?

Leave Your Reply

*