ปี 2020 เป็นหนึ่งในปีที่เทคโนโลยีดิจิทัลมีอิทธิพลอย่างมากกับทั้งภาคเศรษฐกิจและภาคสังคมทั่วโลก

ทั้งกับการดำเนินชีวิตของผู้คนและแนวทางการดำเนินธุรกิจขององค์กรที่มีการนำเทคโนโลยีไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ซึ่งในปี ค.ศ. 2021 ที่กำลังจะมาถึง

เราก็จะได้เห็นนวัตกรรมใหม่ ๆ แห่งอนาคตกันอีก โดยจะมีเทรนด์ดิจิทัลเทคโนโลยีสำคัญถึง 10 เทรนด์ ซึ่งมีอย่างน้อย 4 เทรนด์เทคโนโลยีที่จะส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจและภาคสังคมของทั้งประเทศไทยและต่างประเทศกันอีกครั้ง และจะเป็นการกำหนดอนาคตของการสร้างโลกอัจฉริยะอย่างครอบคลุมในปี ค.ศ. 2025

นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เปิดเผยถึงเทรนด์นวัตกรรมที่มีนัยสำคัญภายใน 5 ปีข้างหน้านี้ว่า “ในฐานะที่หัวเว่ยเป็นบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยี ภารกิจของหัวเว่ยคือการเติบโตในประเทศไทยไปพร้อมกับการสนับสนุนประเทศไทย เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศไทยในช่วง 21 ปีที่ผ่านมา

ทั้งยังรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มาร่วมแบ่งปันวิสัยทัศน์ด้านเทรนด์เทคโนโลยีและเทรนด์อุตสาหรรมจากวันนี้จนถึงปี ค.ศ. 2025 ให้ทุกคนได้รับทราบ โดยเทรนด์เทคโนโลยีโลกที่น่าจับตามองต่อจากนี้ครอบคลุม 4 ประเด็นหลักได้แก่  Augmented Creativity, Symbiotic Economy, 5G Rapid Rollout และ Global Digital Governance โดยเทคโนโลยีด้าน ICT จะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเทรนด์เหล่านี้ และจะมีผลโดยตรงต่อการสร้างโลกอัจฉริยะให้เป็นจริงขึ้นมาได้”

เทรนด์ Augmented Creativity คือการผสานกันระหว่าง AI และเทคโนโลยีใหม่อื่น ๆ ที่จะทำให้เกิดบรรทัดฐานใหม่ในกระบวนการสร้างสรรค์งาน ทั้งนี้ รายงาน GIV (รายงานด้านวิสัยทัศน์ด้านอุตสาหกรรมโลกในปี ค.ศ. 2025 ซึ่งจัดทำโดยหัวเว่ย) ระบุว่าองค์กรขนาดใหญ่มากกว่า 97% จะเริ่มนำปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการ ลดต้นทุน รวมถึงส่งมอบประสบการณ์ใช้งานที่ดีขึ้นให้แก่ลูกค้า อันจะนำไปสู่เทรนด์ที่สองคือ Symbiotic Economy เมื่อองค์กรต่าง ๆ ต้องการสร้างความเติบโตทางธุรกิจไปในระดับโลกมากขึ้น กว่า 85% จะใช้งานแอปพลิเคชันทางธุรกิจของตนเองผ่านเทคโนโลยีคลาวด์ เพื่อการเข้าถึงเทคโนโลยีได้จากทุกแห่งหน การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ทำงานร่วมกับ พาร์ทเนอร์ธุรกิจจะเป็นเรื่องปกติ และการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการดำเนินธุรกิจจะต้องเป็นไปอย่างยั่งยืน รวมทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

สำหรับ 5G Rapid Rollout มีการคาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า จะมีสถานีฐานสำหรับการให้บริการ 5G ถึง 6.5 ล้านสถานีทั่วโลก รองรับการให้บริการผู้ใช้งานได้มากถึง 2,800 ล้านคน ครอบคลุมจำนวนประชากรโลกถึง 58% และเทรนด์สุดท้ายที่น่าจับตามองก็คือ Global Digital Governance เมื่อเครือข่าย 5G แพร่หลายมากขึ้น ผู้คนและองค์กรธุรกิจใช้งานเทคโนโลยีมากขึ้น จะส่งผลให้ปริมาณข้อมูลทั่วโลกที่เกิดขึ้นในแต่ละปีมีจำนวนสูงถึง 180 เซตตะไบต์ (หรือ 180,000 ล้านเทระไบต์) จึงต้องมีขั้นตอนการบริหารจัดการข้อมูลที่รัดกุมยิ่งขึ้น รวมทั้งมาตรการป้องกันการล่วงละเมิดทางข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย

เทรนด์สำคัญจากรายงาน GIV ของหัวเว่ยนี้ทำให้เห็นภาพของโลกอัจฉริยะที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ทั้งนี้ นายอาเบล เติ้ง ได้เสริมว่าหัวเว่ยเชื่อว่าทุกคนมุ่งหวังจะเห็นอนาคตอันน่าตื่นเต้นนี้และต้องการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่กำลังจะมาถึงไปพร้อมกัน ในฐานะที่หัวเว่ยเป็นบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยี ICT จึงมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์เพื่อรับมือกับความท้าทายทุกรูปแบบ และจะตอบรับกับยุคใหม่นี้ด้วยวิสัยทัศน์และภารกิจของบริษัท ซึ่งก็คือการเติบโตพร้อมกับการสนับสนุนประเทศไทยไปด้วยกัน  

SHARE
คนเล่าเรื่องไอที ที่เชื่อว่าการได้เดินทางและการพบปะพูดคุยกับผู้คนในสายงานต่าง ที่ไม่คุ้นเคยคือกำไรชีวิต...หลงไหลในการเดินทางเป็นชีวิตจิตใจ ตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อได้เจอเจ้าหน้าที่ ตม.
RELATED POSTS
Apple เปิดตัว “iPhone 12” และ “iPhone 12 mini” สีม่วงใหม่สวยสะดุดตา เปิดขาย 30 เม.ย. นี้
OPPO เปิดตัว “โบว์ เมลดา” เป็น The AI Portrait Expert พร้อมเตรียมเปิดตัว OPPO Reno12 Series 5G
เคาะราคา “Samsung Galaxy A9 (2018)” เพียง 19,990 บาท

Leave Your Reply

*