ในขณะที่ประเทศไทยเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ เพื่อเตรียมเปิดประเทศในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ ธุรกิจต่างๆ ก็กำลังปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าที่จะเปลี่ยนไปในช่วงหลังโรคระบาด

โควิด-19 ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคไปอย่างมาก และทำให้คนไทยหันไปพึ่งพาช่องทางออนไลน์มากขึ้น และได้เปลี่ยนทั้งความนิยม ความคาดหวัง พฤติกรรมการใช้จ่าย และวิธีที่พวกเขาใช้เพื่อค้นพบสินค้าใหม่ๆ ไปด้วย ผลการศึกษา

เมื่อเร็วๆ นี้จาก Facebook และ เบน แอนด์ คอมพานี (Bain & Company) พบว่าร้อยละ 73 ของผู้บริโภคในประเทศไทยจะกลายเป็นผู้บริโภคดิจิทัลภายในสิ้นปี พ.ศ. 2564 และอัตราการใช้จ่ายผ่านช่องทางดิจิทัลต่อคนได้เติบโตขึ้นร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

แม้ว่าหลายๆ กิจกรรมซึ่งเป็นการใช้เวลาที่บ้านจะยังคงอยู่หลังการผ่อนคลายมาตรการ แต่ในผลการศึกษาดังกล่าวมีการคาดว่าการซื้อของจะเกิด “นอกบ้าน” มากขึ้นและกลับไปสู่หน้าร้าน โดยอุตสาหกรรมที่จะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่กลับไปสู่โลกออฟไลน์มากที่สุดหลังโควิด-19 ได้แก่ อุตสาหกรรมบันเทิง (ลดจากร้อยละ 75 ใช้จ่ายในบ้าน เหลือร้อยละ 50) สุขภาพและการเป็นอยู่ที่ดี (จากร้อยละ 68 เหลือร้อยละ 48) และการทำงาน (จากร้อยละ 56 เหลือร้อยละ 37) ผู้บริโภคคาดว่าจะมีการใช้จ่ายสำหรับกิจกรรมที่บ้านเพิ่มขึ้น หรือเท่าเดิม ทั้งผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ โดยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มอุปโภคบริโภค ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก ผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนตัวและเครื่องสำอางค์ ยังจะมีความต้องการที่เท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้นหลังจากโรคระบาดนี้

เมื่อผู้บริโภคต้องการกลับสู่วิถีเดิมของการซื้อของออฟไลน์แต่ยังคงต้องการความสะดวกของการซื้อของแบบดิจิทัล ธุรกิจต่างๆ ของไทย จำเป็นต้องเน้นสร้างประสบการณ์สำหรับหลากหลายช่องทางที่ไร้รอยต่อเมื่อมีการเปิดประเทศ โดยหนึ่งในวิธีนั้นคือการนำ Messenger จาก Facebook เข้ามาเป็นหนึ่งในช่องทางการซื้อขายเพื่อมอบประสบการณ์เฉพาะบุคคล แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นธุรกรรมที่ไร้การสัมผัส เพื่อสร้างความรักในแบรนด์ต่อไป  

3 วิธีที่ธุรกิจสามารถเพิ่มมูลค่าได้ด้วยการใช้ Messenger

ใช้ QR Code เพื่อให้ข้อมูลสินค้า สร้างปฏิสัมพันธ์ที่มากขึ้น และเพื่อการจ่ายเงินที่ง่ายดาย

นับตั้งแต่เริ่มเกิดการระบาด เราได้เห็นนวัตกรรมที่นำ QR code ไปใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งเพื่อการทำธุรกรรมและการเช็คอิน สำหรับธุรกิจในประเทศไทยหลังโควิด-19 นี้ QR code ยังสามารถนำมาใช้เพื่อลดการสัมผัสและสร้างความสะดวกได้ และสำหรับช่องทางออฟไลน์ QR code จะช่วยทำให้ลูกค้าเข้าถึงเว็บไซต์เพื่ออ่านข้อมูลหรือโปรโมชันเพิ่มเติมได้ รวมถึงเป็นวิธีในการชำระเงินผ่านแอปพลิเคชันของธนาคาร

pepsicasestudyvisual

นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เพื่อสร้างแคมเปญใหม่ๆ ได้ โดยจะสามารถนำให้ลูกค้าเข้าสู่ประสบการณ์ช้อปปิ้งที่เป็นทั้งออฟไลน์และออนไลน์ได้พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมที่มากขึ้น เช่นแคมเปญเกี่ยวกับดนตรีจาก Pepsi ประเทศไทย ที่แบรนด์มีการนำ QR code มาใช้เพื่อนำให้ลูกค้าเข้าไปที่ Messenger จาก Facebook ได้ และแชทบอทจะทำหน้าที่เชิญให้ลูกค้าสร้างมิวสิควิดีโอของตัวเองโดยใช้ฟิลเตอร์ AR ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อลุ้นรางวัล แคมเปญนี้ได้เสริมประสบการณ์ออฟไลน์ให้มีสีสันด้วยกิจกรรมออนไลน์ ส่งผลให้การรับรู้ของแคมเปญเพิ่มขึ้น 5 จุด ความชอบในแบรนด์เพิ่มขึ้น 3.7 จุด และความน่าเชื่อถือของแบรนด์เพิ่มขึ้น 13.4 จุด    

แชร์โปรโมชันผ่านแชท เพื่อเพิ่มยอดขายออฟไลน์ทางหน้าร้าน

ลูกค้าเปิดรับและมั่นใจที่จะพูดคุยธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น โดย 8 ใน 10 ของผู้บริโภค Gen Z ของไทยชอบที่จะติดต่อธุรกิจผ่านการทักแชท และ 4 ใน 5 ของผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยกล่าวว่าพวกเขารู้สึกใกล้ชิดกับธุรกิจมากขึ้นผ่านการแชท

ภาคธุรกิจยังคงสามารถรักษาความสัมพันธ์นี้ต่อได้หลังโควิด-19 โดยนำการแชทเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญหรือกิจกรรมส่งเสริมการขาย เช่น แชร์ส่วนลดหรือบัตรของขวัญพิเศษผ่าน Messenger เพื่อให้นำมาแลกที่หน้าร้านในช่วงโปรโมชัน ความหลากหลายของบริการจาก Messenger จะช่วยให้ธุรกิจเพิ่มลูกค้าทั้งออฟไลน์และออนไลน์ได้ และจะมีประโยชน์มากในช่วงการทำแคมเปญหรือเปิดตัวสินค้า   

benjerryscasestudyvisua

Ben & Jerry’s สิงคโปร์ นำแนวทางนี้ไปใช้ในการเปิดตัวไอศครีมรสใหม่ โดยใช้โฆษณาแบบ Click-to-Messenger เพื่อนำกลุ่มคนที่มีแนวโน้มที่จะเป็นลูกค้ามาสู่การแชทบน Messenger โดยพวกเขาจะทำแบบสอบถามสั้นๆ จากนั้นจะได้ QR code ไปแลกไอศครีมฟรีที่งานเปิดตัว และผู้เข้าร่วมงานก็ยังมีการใช้งาน Messenger เพื่อแลกบัตรของขวัญ แคมเปญที่ใช้ทั้งสองช่องทางนี้ไม่เพียงแค่ทำให้แบรนด์เข้าใจลูกค้าผ่านแบบสอบถามเท่านั้น แต่ยังทำให้ยอดการแลกตัวอย่างไอศครีมเพิ่มขึ้น 2.2 เท่า และมียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เทียบกับแคมเปญที่ไม่ได้ใช้ Messenger    

  ใช้การทักแชทเพื่อเพิ่มยอดขายหน้าร้านและสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ แก่ลูกค้า

การซื้อขายผ่านการทักแชทนั้น เป็นเทรนด์หลักๆ ที่ช่วยสร้างยอดขายออนไลน์ แต่ก็มีศักยภาพในการช่วยธุรกิจในโลกออฟไลน์เช่นกัน โดยธุรกิจสามารถสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งของลูกค้าที่ดีขึ้นได้ผ่าน Messenger โดยเพิ่มตัวเลือกการรับสินค้าหน้าร้านหรือการนัดหมายเพื่อรับบริการจากร้านค้า ทั้งนี้เป็นการเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้าทั้งออนไลน์และออฟไลน์

qmomovisual2

วิธีนี้มีการนำไปใช้และประสบความเร็จโดย QMomo แบรนด์ชุดชั้นในจากไต้หวัน โดยมีการสร้าง Click-to-Messenger ads ที่มีการใช้ภาพของหน้าร้านที่สวยงามเพื่อดึงดูดลูกค้า โดยเมื่อลูกค้าเข้ามาที่ Messenger จะได้รับการต้อนรับจากพนักงานผ่านแชท และช่วยทำการนัดหมายเข้าชมสินค้าที่หน้าร้าน จากการที่มีโฆษณาที่ดึงดูดและความสะดวกในการจองบน Messenger ทำให้ยอดขายของ QMomo เพิ่มขึ้นทั้งออฟไลน์และออนไลน์ โดยคิดเป็นผลตอบแทนจากการโฆษณาผ่านยอดขายออฟไลน์อยู่ที่ 17.7 เท่า และมียอดขายออนไลน์เพิ่มขึ้นร้อยละ 34 และมีการเพิ่มสินค้าไปยังรถเข็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 43

qmomovisual1

ในโลกหลังโควิด-19 ที่กำลังจะมาถึง ธุรกิจจำเป็นที่จะต้องสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งที่มีเอกลักษณ์ มีมาตรฐาน และมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าให้ได้ในทุกช่องทางการขาย การนำช่องทางออฟไลน์และออนไลน์มาใช้ให้เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลาของการซื้อขาย รวมถึงใช้เครื่องมือไร้สัมผัสต่างๆ เช่น QR code และการชำระเงินออนไลน์ รวมถึงการแชทผ่าน Messenger นั้น จะทำให้ธุรกิจสามารถปรับตัวเข้ากับความต้องการของลูกค้าได้โดยการมอบประสบการณ์ที่ไร้รอยต่อ สะดวก มีความเฉพาะบุคคล และไร้การสัมผัสได้ในวันที่ประเทศกำลังเปิดอีกครั้ง 

SHARE
คนเล่าเรื่องไอที ที่เชื่อว่าการได้เดินทางและการพบปะพูดคุยกับผู้คนในสายงานต่าง ที่ไม่คุ้นเคยคือกำไรชีวิต...หลงไหลในการเดินทางเป็นชีวิตจิตใจ ตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อได้เจอเจ้าหน้าที่ ตม.
RELATED POSTS
เปิดตัว Canon PowerShot ZOOM กล้องดิจิทัลส่องทางไกล ราคาเพียง 9,990 บาท
เมื่อ!!! สมาร์ทดีไวซ์กลุ่ม Wearable โตต่อเนื่องทั่วโลก ใครยังไม่มีต้องลองแล้ว!
Apple เปิดตัวหูฟัง “AirPods” รุ่นใหม่เงียบๆ ขายในราคา 6,500 บาท และ 7,790 บาท

Leave Your Reply

*