เนื่องด้วยในสัปดาห์นี้ มีผู้นำระดับโลก ผู้สนับสนุน กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และหน่วยงานอื่นๆ กำลังเข้าร่วมงานประชุม COP26 ซึ่งจัดขึ้นในเมืองกลาสโกว์ ในวันนี้ Meta จึงเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นที่แข็งแกร่งที่สุดเท่าที่เคยมีมา เพื่อบรรลุเป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

ซึ่งจะช่วยจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิที่ 1.5 องศาเซลเซียส โดยความมุ่งมั่นดังกล่าวยังรวมถึงการขยายการดำเนินงานของศูนย์ภูมิอากาศวิทยา (Climate Science Center) ของ Facebook ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค สะท้อนให้เห็นถึงการสนับสนุนในระดับโลกอย่างท่วมท้นเพื่อเข้าร่วมความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Paris Climate Agreement) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย ซึ่งมีผู้คนจำนวน 9 ใน 10 ที่สนับสนุนการเข้าร่วมความตกลงดังกล่าว โดย 6 ใน 10 คิดว่ารัฐบาลควรจัดลำดับความสำคัญของประเด็นดังกล่าวในระดับสูงหรือสูงมาก และราว 8 ใน 10 ต้องการให้มีการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

Meta ในฐานะที่เป็นธุรกิจระดับโลกที่เชื่อมต่อผู้คนจำนวนกว่า 3 พันล้านคนในแต่ละเดือน เข้าใจถึงโอกาสและหน้าที่ความรับผิดชอบของบริษัทในการสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง โดยในปีที่ผ่านมา ทางบริษัทได้บรรลุเป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์สำหรับการดำเนินงานในระดับโลกเรียบร้อยแล้ว โดยสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 94 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา และยังได้รับการสนับสนุนด้วยการใช้พลังงานหมุนเวียน 100 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้ Meta ยังได้ตั้งเป้าหมายที่ท้าทายด้วยการผลักดันให้ซัพพลายเออร์มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และสำหรับการดำเนินงาน ทางบริษัทมีเป้าหมายในการบำบัดน้ำในปริมาณที่มากกว่าการใช้งานภายในปี พ.ศ. 2573 โดยตั้งแต่การทำสัญญาในการใช้งานพลังงานลมในปี พ.ศ. 2556 Meta ได้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมแบบใหม่ไปแล้วกว่า 7 กิกะวัตต์

ส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของ Meta ยังรวมถึงการร่วมมือกับโครงการ Yale Program on Climate Change Communication เพื่อทำการสำรวจผู้ใช้ Facebook ใน 30 ประเทศและอาณาเขตต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงในประเทศไทย และสอบถามพวกเขาเกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อประเด็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

โดยในแต่ละประเทศที่ได้ทำการสำรวจถูกค้นพบว่า กว่า 3 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศกำลังเกิดขึ้นจริง แต่มีคนจำนวนน้อยกว่านั้นที่เข้าใจว่าปัญหาดังกล่าวเกิดจากการทำกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ ในประเทศไทย 7 ใน 10 คนของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่า พวกเขาค่อนข้างกังวลหรือกังวลมากเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และ 8 ใน 10 คนกล่าวว่าพวกเขาต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ 

ด้วยความเข้าใจเกี่ยวกับความจำเป็นในการช่วยให้ผู้คนได้ค้นพบกับข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องบนแอปพลิเคชันในเครือของบริษัท รวมถึงการจัดการกับข้อมูลเท็จในเวลาเดียวกัน ในวันนี้ Meta จึงได้แชร์ข้อมูลโครงการด้านสภาพภูมิอากาศที่ได้รับการขยายการดำเนินงานเพิ่มเติม ดังนี้

ยกระดับข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ Meta กำลังขยายการดำเนินงานของศูนย์ภูมิอากาศวิทยาบน Facebook ในกว่า 100 ประเทศ เพื่อเชื่อมต่อผู้คนเข้ากับแหล่งข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงองค์กรด้านสภาพภูมิอากาศชั้นนำของโลก รวมถึงวิธีการในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในการใช้ชีวิตของพวกเขา และการให้ข้อมูลในหมวดใหม่เพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศต่าง ๆ เมื่อเทียบกับความมุ่งมั่นและเป้าหมายของประเทศนั้น ๆ

การจัดการกับข้อมูลเท็จเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ ในช่วงก่อนการประชุม COP26 การดำเนินงานเพื่อตรวจจับคีย์เวิร์ดในช่วงการจัดงานครั้งสำคัญที่เปิดโอกาสให้สาธารณชนมีส่วนร่วมช่วยให้ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงสามารถดำเนินงานได้ง่ายขึ้น ซึ่งส่งเสริมการดำเนินงานที่มีอยู่แล้วของ Meta ในการร่วมมือกับองค์กรผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงอิสระกว่า 80 องค์กรทั่วโลกเพื่อตรวจสอบและจัดลำดับเนื้อหาต่างๆ ซึ่งรวมถึงเนื้อหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

การจัดการกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ข้อมูลจากการสำรวจที่จัดทำขึ้นโดยโครงการ Yale Program ระบุว่ากว่า 8 ใน 10 ของชาวไทยเชื่อว่า ประเทศไทยควรใช้พลังงานที่มาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ในขณะที่ 53 เปอร์เซ็นต์กล่าวว่าการดำเนินงานเพื่อลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจะช่วยพัฒนาการเติบโตเชิงเศรษฐกิจและสร้างอาชีพใหม่ ๆ

ดังนั้น Messenger จึงสนับสนุนบทสนทนาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการช่วยให้ผู้คนสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างทันท่วงทีในช่วงงานประชุม COP26 โดย Messenger จะสนับสนุนอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change หรือ UNFCCC) ด้วยการเปิดตัวสติ๊กเกอร์กล้องถ่ายรูปชุดใหม่เพื่อช่วยคุณในการสร้างบทสนทนาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้ง่ายดายยิ่งขึ้น

การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก Meta จะเปิดตัวโครงการฝึกอบรมเพื่อความยั่งยืนเพื่อสนับสนุนธุรกิจบนแอปพลิเคชันในเครือของบริษัทในการจัดการปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการลดการปล่อยคาร์บอน และช่วยเหลือให้ธุรกิจของ

พวกเขาเติบโตได้อย่างยั่งยืน

การแชร์ความคิดเห็นด้านการจัดการสภาพภูมิอากาศในการประชุม COP26 ประกอบด้วยการนำผู้เชี่ยวชาญและนักวิทยาศาสตร์มาเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาใหม่ที่ถูกออกแบบขึ้นเพื่อให้ข้อมูลและสร้างแรงบันดาลใจในการจัดการปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศ พร้อมไลฟ์สตูดิโอภายในงานประชุม COP26 ซึ่ง Meta มีบทบาทในจัดรายการสนทนาร่วมกับผู้นำทางความคิดด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่าง ๆ รวมถึงการจัดรายการพอดแคสต์ใหม่ที่มีชื่อว่า Climate Talks โดยมี โซเฟีย ลี เป็นผู้ดำเนินรายการ และรายการไลฟ์สตรีม Say It With Science ผ่าน Facebook Live ที่ครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับสุขภาพและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ Instagram ยังจะเปิดตัวชุดบทความ “Our Planet in Crisis” ที่จะบอกเล่าเรื่องราวของนักกิจกรรมและผู้จัดซึ่งดำเนินงานอย่างทุ่มเทเพื่อสร้างความตระหนักรู้และสนับสนุนผู้อื่นให้จัดการกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในชุมชนท้องถิ่นของพวกเขา

การดำเนินงานเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการลงทุนที่มีมาอย่างยาวนานของ Meta ในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก รวมถึงการช่วยให้ผู้คนหันมาทำแบบเดียวกันได้ง่ายขึ้น คุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการล่าสุดเหล่านี้ได้ที่ https://about.fb.com/news/2021/11/our-commitment-to-combating-climate-change/ 

SHARE
คนเล่าเรื่องไอที ที่เชื่อว่าการได้เดินทางและการพบปะพูดคุยกับผู้คนในสายงานต่าง ที่ไม่คุ้นเคยคือกำไรชีวิต...หลงไหลในการเดินทางเป็นชีวิตจิตใจ ตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อได้เจอเจ้าหน้าที่ ตม.
RELATED POSTS
Samsung เปิดตัว Galaxy Note20 และ Galaxy Note20 Ultra สมาร์ทโฟนซีรีส์ ‘โน้ต’ ที่ทรงพลังที่สุด
HUAWEI อาจจะเปิดตัว P30 Pro New Edition ในวันที่ 15 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้
Youtube เตรียมทดลองซ่อนยอด Dislike เพื่อช่วยเหล่า Youtuber

Leave Your Reply

*