การถ่ายภาพอาหารก่อนรับประทานกลายเป็นไลฟ์สไตล์ของคนไทยไปแล้ว ตั้งแต่การถ่ายอาหารมื้อหรูไปจนถึงสตรีทฟู้ดข้างทาง เพื่อเก็บไว้ดูและแชร์กระตุ้นต่อมความหิวให้เพื่อนๆ ได้อิจฉา
แต่หากเริ่มรู้สึกว่ามุมที่ถ่ายเริ่มซ้ำ หรืออาหารบางมื้อถ่ายออกมายังไงก็ไม่สวยลองมาดูเทคนิคจาก บิ๊ก คาเมร่า ได้จัดกิจกรรมเวิร์คช้อปสุดเอ็กซ์คลูซีฟ “ดิ แอดวานซ์เซด ออฟ พรีเมียม เอ็กซ์พีเรียนซ์ โฟโต้เวิร์คช้อป” (The Advanced of Premium Experience Photo Workshop) ในหัวข้อ “Food Photography & Food Styling by SONY” เอาใจสายแคปเจอร์อาหารและแฟนคลับกล้องโซนี่ ได้มาร่วมเปิดไอเดียการถ่ายภาพกับ “ภูมิ-ธนะภูมิ ทรัพย์จรุงกิจ” ช่างภาพสายอาหาร (Food Photography) อันดับต้นๆ ของเมืองไทย เจ้าของเพจ PooM Photo
คุณภูมิ เล่าว่า “การหยิบกล้องถ่ายรูปขึ้นมาถ่ายภาพอาหาร พร้อมโพสต์หรือแชร์สู่โลกโซเชียลก่อนรับประทาน กลายเป็นไลฟ์สไตล์ของคนในยุคปัจจุบันที่นิยมทำเป็นประจำเมื่ออาหารมาเสิร์ฟถึงโต๊ะ เพราะนอกจากจะได้โชว์สกิลด้านการถ่ายภาพแล้วยังเป็นการกระตุ้นความอยากทานของเพื่อนๆ ในโลกออนไลน์อีกด้วย ส่งผลให้ร้านค้าต่างๆ
โดยเฉพาะร้านขนมหวาน หันมาเพิ่มลูกเล่นให้กับเมนูพิเศษของตัวเอง เพื่อสร้างกระแสการกดไลค์ กดแชร์ แต่นอกจากลูกเล่นของเมนูนั้นๆ แล้ว เทคนิคการถ่ายภาพก็ถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้หน้าตาอาหารออกมาน่าสนใจเพิ่มมากขึ้น
สำหรับเทคนิคการถ่ายภาพอาหารให้สวยและน่ารับประทานมีองค์ประกอบที่ต้องคำนึง 5 จุดใหญ่ๆ คือ “มุม” เมื่อได้อาหารมาหนึ่งเมนู สิ่งที่ต้องพิจารณาคือการหามุมในการนำเสนอ โดยมุมนั้นจะต้องแสดงให้เห็นถึงวัตถุดิบหลักของเมนูได้อย่างชัดเจน เช่น เมนูเบอร์เกอร์หมูคุโรบุตะ ความโดดเด่นอยู่ที่เนื้อหมู ดังนั้น ก่อนถ่ายภาพจึงควรดูมุมที่สามารถเห็นเนื้อหมูที่ชัดเจนที่สุด หรือจัดวางใหม่โดยการเปิดแผ่นแป้งเบอร์เกอร์ออกให้เห็นความฉ่ำของเนื้อหมูด้านใน เป็นต้น
จุดต่อมา คือ “แสง” ถือเป็นส่วนสำคัญของการถ่ายภาพทุกชนิด ซึ่งแสงธรรมชาติในช่วงเวลาเช้าและบ่ายแสงคือดีที่สุดเหมาะสำหรับการถ่ายภาพอาหาร เพราะจะทำให้ภาพของอาหารสมจริง มีความสวยงาม อีกทั้งแสงในช่วงเวลาดังกล่าวจะเป็นแสงที่ทำมุม 45 องศากับตัววัตถุ และจะเป็นแสงที่เข้าเพียงข้างใดข้างหนึ่งของอาหารไม่พุ่งลงมาตรงกลางของอาหาร ทำให้เห็นมิติของอาหารที่ชัดเจน
“พร็อพ” (Prop)
“การเคลื่อนไหว” (Movement)
เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจ เพิ่มความมีชีวิตเข้าไปให้กับภาพถ่าย ซึ่งปัจจุบันร้านอาหารนิยมรังสรรค์เมนูออกมาด้วยการเพิ่มลูกเล่นให้ลูกค้าได้ทำก่อนรับประทาน เช่น การราดท้อปปิ้งลงบนขนมต่างๆ การโรยผงน้ำตาล เป็นต้น ดังนั้น การถ่ายภาพเพื่อให้ดูเหมือนว่าสิ่งที่ทำนั้นกำลังเคลื่อนไหว ต้องอาศัยเทคนิคการถ่ายภาพส่วนตัวเข้ามาช่วย ไม่ว่าจะเป็นเทคนิค Stop Action เพื่อได้ภาพที่เคลื่อนไหวนั้นหยุดนิ่ง แต่ถ้าเมนูไหนที่ไม่มีลูกเล่นมา แล้วรู้สึกว่าหากถ่ายแบบปกติจะทำให้ภาพดูแบน อย่างเช่น เมนูประเภทเส้น ถ้าถ่ายปกติก็จะเห็นเส้นที่จมอยู่ในน้ำซุป วิธีการแก้คือ อาจจะให้เพื่อนช่วยคีบเส้นยกลอยขึ้นมา หรือการพันเส้นด้วยปลายส้อม เพื่อทำให้ภาพที่ได้ดูมีมิติและดูสมจริงมากขึ้น
ปิดท้ายด้วยเทคนิคการ “ถ่ายระยะใกล้” (Close Up)
เมนูอาหารบางชนิดเหมาะแก่การถ่ายระยะใกล้เพื่อให้เห็นรายละเอียดที่ชัดเจน และเพิ่มความพรีเมียมให้กับเมนูนั้นๆ อย่างเช่น ซูชิไข่ปลาแซลมอล ถ้าถ่ายในระยะไกลก็จะเห็นเป็นซูชิธรรมดา แต่ถ้าถ่ายในระยะใกล้โดยใช้โหมดหรือเลนซ์สำหรับการถ่ายภาพระยะใกล้ ก็จะทำให้เห็นความสด ความใสของไข่ปลาอย่างชัดเจน หรือเมนูสเต็ก ที่ต้องการให้เห็นถึงความสุกของแต่ละชั้นเนื้อ ก็สามารถใช้เทคนิคการถ่ายในระยะใกล้เข้ามาช่วยได้เช่นกัน
ใครที่เป็นสายแชะแล้วแชร์สามารถนำเทคนิคเหล่านี้ไปปรับใช้ได้ หรืออยากเรียนรู้เทคนิคการถ่ายภาพที่หลากหลายสไตล์เพิ่มเติม ก็สามารถเข้าร่วมกิจกรรมเวิร์คช้อปสุดเอ็กซ์คลูซีฟกับ บิ๊ก คาเมร่า เช่นนี้ได้ฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ บิ๊ก คาเมร่า (BIG CAMERA) ทั้ง 230 สาขาทั่วประเทศไทย หรือติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.bigcamera.co.th, Facebook : BIGCAMERACLUB, Instagram : BIGCAMERA_CLUB, Youtube : BIGCameraTV
ข้อมูล : บิ๊ก คาเมร่า