News

ชุดกันน้ำไม่พอ! แคสเปอร์สกี้แนะ เพิ่มเกราะกันภัยไซเบอร์จาก QR Codes ช่วงสงกรานต์

เทศกาลสงกรานต์และวันปีใหม่ไทย ถือเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นตาตื่นใจที่สุดของประเทศ ซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก

ด้วยกิจกรรมต่างๆ ที่สร้างความสนุกสนานเพลิดเพลิน อาทิ การชมสถานที่ท่องเที่ยว การเล่นน้ำสงกรานต์ และการตักบาตรในช่วงเทศกาล

อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากความสุขและความสนุกสนานแล้ว ช่วงเทศกาลนี้ยังก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นปืนฉีดน้ำ การสาดน้ำถังใหญ่ตามถนน หรือแม้แต่การถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคลและการเงิน

หากจะมีงานเทศกาลที่ทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติแล้วก็ต้องเป็นเทศกาลสงกรานต์หรือวันปีใหม่ตามประเพณีไทยที่น่าตื่นตาตื่นใจและน่าหลงใหลที่สุดในเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติสนุกสนานกับการชมสถานที่ท่องเที่ยวและกิจกรรมต่างๆ อย่างล้นหลาม

สงกรานต์

นอกเหนือจากงานประเพณีประจำปีในหมู่ครอบครัวและเพื่อนฝูงแล้วเรามักได้รับคำสอนตักเตือนถึงข้อควรระวังด้านความปลอดภัยของร่างกายชีวิตและทรัพย์สินสิ่งที่ควรทำเมื่อเข้าร่วมการเล่นสงกรานต์ด้วยปืนฉีดน้ำที่ถือเป็นอาวุธหนักในการเล่นต่อสู้ รวมถึงการสาดน้ำถังใหญ่ตามถนนในเมืองและชุมชน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเรื่องการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลและบัญชีการเงินกลับพบคำแนะนำด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ไม่มากนัก

คิวอาร์โค้ด หรือ QR Code ซึ่งย่อมาจาก ‘quick response’ หมายถึงการตอบสนองที่รวดเร็ว คิวอาร์โค้ดทำหน้าที่เหมือนกับบาร์โค้ด เป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็วในการดำเนินการต่างๆ เช่น ชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำแบบสอบถาม สมัครรับโปรโมชั่นส่วนลด ดาวน์โหลดข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เช็คอินที่โรงแรม เข้าถึงเว็บไซต์ และกดติดตามโซเชียลมีเดีย เพราะการยื่นสมาร์ทโฟนเพื่อสแกนรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีดำนั้นง่ายกว่าการป้อน URL ที่ยาวมาก และแน่นอนว่าความสะดวกสบายนี้ได้ซ่อนข้อเสียที่ร้ายแรงไว้

ด้วยลิงก์ปกติผู้ใช้สามารถตรวจพบกับดักอันตรายได้ด้วยตาเปล่าและไม่หลงกลกดลิงก์นั้น เช่นการพิมพ์ผิด หรืออักขระเพิ่มเติมใน URL ของเว็บการเปลี่ยนเส้นทางไปเว็บอื่นที่ซ่อนอยู่ โดเมนที่ผิดปกติ เป็นต้นแต่คิวอาร์โค้ดอาจพาผู้ใช้เข้าเว็บไซต์ปลอม ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่เป็นอันตรายและกรอกข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้ตั้งใจ

นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “ปัจจุบัน เราได้เห็นคิวอาร์โค้ดมากมายรอบตัวเราแต่มีผู้ใช้จำนวนไม่มากนักที่สงสัยว่าอาจมีการแปะโค้ดปลอมแทนที่โค้ดในป้ายโฆษณาที่ติดอยู่ที่ธนาคารบนระบบขนส่งสาธารณะ หรือสถานที่ท่องเที่ยว ทั้งนี้มีเหตุการณ์จริงที่นำคิวอาร์โค้ดปลอมวางทับโค้ดที่ถูกต้องอย่างประณีต”

ตัวอย่างเหตุการณ์นี้ได้แสดงให้เห็นว่าคิวอาร์โค้ดเป็นอันตรายได้อย่างไร หญิงวัย 60ปีในสิงคโปร์สแกนสติกเกอร์คิวอาร์โค้ดที่ประตูร้านกาแฟเพื่อรับชานมไข่มุกฟรีหนึ่งแก้ว กลายเป็นว่าอาชญากรไซเบอร์ได้ติดสติกเกอร์ไว้โค้ดลวงนี้มีลิงก์ไปยังแอปแอนดรอยด์ของเธิร์ดปาร์ตี้ที่เธอคิดว่าไว้ทำแบบสำรวจแต่แท้จริงแล้ว แอปนี้เป็นแอปอันตราย และทำให้เธอเสียเงินไปมากถึง 20,000ดอลลาร์

จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ตัวเลขภัยคุกคามทางไซเบอร์ของประเทศไทยในปี 2566 สูงกว่าปี2565 ถึง 114.25% ภัยร้ายสามอันดับแรก ได้แก่การแฮ็กเว็บไซต์การโจมตีเว็บไซต์เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่เผยแพร่ และเว็บไซต์ปลอม

นายโยวกล่าวเสริมว่า “เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยอีคอมเมิร์ซดังนั้นคิวอาร์โค้ดจึงแพร่หลายอย่างรวดเร็วอีกทั้งมีการใช้คิวอาร์โค้ดในการติดตามและตรวจสอบข้อกำหนดของระบบในร้านค้า ร้านอาหาร และธุรกิจต่างๆภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นในประเทศนั้นมีความโดดเด่นทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณจึงขอแนะนำให้ผู้ใช้เพิ่มความระมัดระวัง สังเกตุรูปแบบการกระทำที่ผิดปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราเดินทางท่องเที่ยว จับจ่ายใช้สอยทำให้อาจลดมาตรการเพื่อความปลอดภัยทางไซเบอร์”

แคสเปอร์สกี้ขอเสนอแนะนำการใช้งานคิวอาร์โค้ดเพื่อความปลอดภัยเพราะแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ใช้จะหลีกเลี่ยงการสแกนคิวอาร์โค้ดได้

-ตรวจสอบแอดเดรสของเว็บไซต์ภายในคิวอาร์โค้ดอย่างระมัดระวังและมองหาสัญญาณอันตรายทั่วไป

-ตรวจสอบว่าเนื้อหาที่คาดหวังและเนื้อหาจริงตรงกัน ตัวอย่างเช่น หากโค้ดควรจะนำไปสู่แบบสำรวจ ตามหลักแล้วควรมีแบบฟอร์มประเภทที่มีตัวเลือกคำตอบ ถ้าไม่เช่นนั้นให้ปิดเว็บไซต์ทันทแต่แม้ว่าหน้าเว็บนั้นจะไม่ก่อให้เกิดความสงสัยใดๆ คุณก็ยังต้องระมัดระวังเนื่องจากอาจเป็นการปลอมแปลงคุณภาพสูง (วิธีระบุเว็บไซต์ปลอม)

-อย่าดาวน์โหลดแอปพลิเคชันผ่านคิวอาร์โค้ด ตามกฎแล้วผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดแอปที่ถูกต้องพบได้ที่ Google Play, App Storeหรือแพลตฟอร์มอย่างเป็นทางการอื่น ๆไม่ควรติดตั้งแอปจากแหล่งเธิร์ดปาร์ตี้ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม

– ปกป้องดีไวซ์ด้วยโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยที่เชื่อถือได้มีเครื่องมือสแกนคิวอาร์โค้ดช่วยให้สามารถตรวจสอบลิงก์ที่ฝังอยู่ในรูปสี่เหลี่ยม นอกจากนี้โซลูชันของแคสเปอร์สกี้จะบล็อกความพยายามในการเข้าชมเว็บไซต์ที่เป็นอันตราย และปกป้องผู้ใช้จากภัยคุกคามอื่น ๆ มากมายในโลกไซเบอร์

SHARE
คนเล่าเรื่องไอที ที่เชื่อว่าการได้เดินทางและการพบปะพูดคุยกับผู้คนในสายงานต่าง ที่ไม่คุ้นเคยคือกำไรชีวิต...หลงไหลในการเดินทางเป็นชีวิตจิตใจ ตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อได้เจอเจ้าหน้าที่ ตม.
RELATED POSTS
Samsung เตรียมปล่อย Android 11 พร้อมกับ OneUI 3.0 เวอร์ชั่นใหม่ให้ Galaxy A51
realme เตรียมเปิดตัวสมาร์ทโฟนในงาน MWC 2020 คาดมันคือ realme X50 Pro
มาแล้ว! iOS 14.8 การอัปเดตครั้งสุดท้าย เน้นเรื่องความปลอดภัย

Leave Your Reply

*