คณะดิจิทัลมีเดียสาขาการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟและเกม ม.ศรีปทุม เร่งสร้าง “คน” ป้อนอุตสาหกรรมอีสปอร์ต พา”เด็ก” เล่น “เกม” เติบโตสร้างอนาคตสดใสในสายงานอีเว้นท์อีสปอร์ต
อาชีพขาดแคลนเร่งด่วนในตลาดแรงงาน ชูจุดเด่น เรียนรู้จากตัวจริง ประสบการณ์จริง จัดสัมมนา อีเว้นท์แข่งเกมจริง เข้มข้นทุกขั้นตอน เรียนจบทำงานได้ทันที เผยประเทศไทยเป็นตลาดใหญ่ จำนวนผู้เล่นเกมกว่า 34 ล้านคน มูลค่าตลาดเกม 34,000 ล้านบาท แต่ขาดแคลน “คน” หากเร่งสร้างคนออกสู่ตลาดเชื่อดึงเม็ดเงินเข้าประเทศมหาศาล
อาจารย์นภนต์ คุณะนิติสาร อาจารย์ประจำ สาขาการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟและเกม คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมเกมในประเทศไทย เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดและสร้างมูลค่าต่อเศรษฐกิจประเทศอย่างมีนัยสำคัญโดยรายงาน “Thailand Game Industry Report 2023”
โดยสมาคมกีฬาอีสปอร์ตแห่งประเทศไทย ระบุตัวเลขมูลค่าตลาดเกมในประเทศ 2566 มี มูลค่ากว่า 34,000 ล้านบาท ขับเคลื่อนด้วยจำนวนผู้เล่นกว่า 34 ล้านคน สะท้อนให้เห็นศักยภาพตลาดเกมของไทยตลาดเกมไทยมีศักยภาพสูง และอุตสาหกรรมเกมไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมเกมอย่างจริงจัง มีบริษัทเกมไทยหลายบริษัทประสบความสำเร็จในระดับโลก ประกอบกับประเทศไทยมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมที่ดี จึงเป็นตลาดที่น่าสนใจและดึงดูดประกวดแข่งขันกีฬาอีสปอร์ตลีกจากทั่วทุกมุมโลก
แต่กับอุปสรรคสำคัญของการจัดการแข่งขันอีสปอร์ตที่ประเทศกำลังเผชิญคือขาดกำลัง “คน” ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการจัดอีเวนท์ อีสปอร์ต เนื่องจากจำเป็นต้องใช้กำลังคนที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องเกม ซึ่งจัดเป็นกลุ่มอาชีพขาดแคลนและต้องเร่งสร้างป้อนเข้าสู่ตลาดให้เร็วที่สุดเพื่อให้ประเทศไม่สูญเสียโอกาสจากเม็ดเงินมหาศาลต่อระบบเศรษฐกิจ
จากปัจจัยดังกล่าว ทางคณะดิจิทัลมีเดีย จึงได้เปิดวิชาชีพเลือก อีสปอร์ต เพื่อสร้างโอกาส ให้เด็กที่ชอบการเล่นเกม ได้เข้าสู่สายอาชีพที่ชอบ และมีความถนัด สร้างให้เด็กเล่นเกม คนกลายเป็นกำลัง “คน” ที่มีศักยภาพทักษะสูง ที่ออกไปเพิ่มมูลค่า ให้กับวงการอีสปอร์ตทั้งในรูปแบบ “บุคลากร” ในองค์กร บริษัท หรือเป็น “เจ้าของธุรกิจ” โดยสายงานนี้ถือเป็นอีกหนึ่งสายงานที่มีผลตอบแทนสูงสามารถเติบโตได้ในระดับประเทศและระดับโลก คณะได้ออกแบบหลักสูตร ให้นักศึกษาได้มีโอกาส เรียนรู้จาก “ตัวจริง” วิทยากรพิเศษจากภายนอก ผู้อยู่ในอุตสาหกรรม หมุนเวียน นำความรู้และประสบการณ์ เทรนด์เกี่ยวกับอุตสาหกรรม มาถ่ายทอดแลกเปลี่ยนให้กับนักศึกษา และได้เรียนรู้จาก “ประสบการณ์จริง” จากการลงมือทำ หลักสูตรสาขาอีสปอร์ต มุ่งสร้างบัณฑิตที่มีทักษะครบวงจร ตั้งแต่การวางแผน การตลาด การจัดการ การเงิน ไปจนถึงการประชาสัมพันธ์ และการแข่งขันจริงเต็มรูปแบบ พร้อมฝึกฝนให้นักศึกษาสามารถคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และทำงานเป็นทีม
“ นักศึกษาของเราโดดเด่น เรื่องการเขียนโครงการนำเสนอของการจัดแข่งที่ครอบคลุม เนื่องจากได้เรียนรู้การทำงานจริงตั้งแต่ชั้นปี 2 เทอม 2 รายวิชาการจัดสัมมนา โดยแบ่งหน้าที่ และทำงานเป็นทีมตั้งแต่นำเสนอโครงการจนจัดงานเสร็จ และเมื่อขึ้นชั้น ปี 3 เทอม 2 จะได้เริ่มลงสนามการจัดแข่งขันลีกอีสปอร์ตเต็มรูปแบบ ตั้งแต่เขียนโครงการของการจัดแข่งขัน การเลือกเกม การประชาสัมพันธ์รับสมัคร การบริหารจัดการการแข่ง ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการจัดแข่งขันมากแล้ว กว่า 15 รายการ โดยในปี 2566 มีบัณฑิตจบการศึกษา จำนวน 100 คน ในสาขาเกมและแอนนิเมชัน คาดว่าจะสามารถเข้าสู่วงการอีสปอร์ต และสายอาชีพเกี่ยวข้องใกล้เคียงได้ทั้งหมด เช่น สายงานอีเว้นท์ คนที่ผ่านการจัดงานอีสปอร์ตสามารถเบนเข็มไปทำอีเว้นท์ สายงานการตลาด สายงานประชาสัมพันธ์ ได้ทันทีเพราะพื้นฐานเป็นแบบเดียวกัน” อาจารย์นภนต์ คุณะนิติสาร
นายพีรพล สามารถ (แทน) ตำแหน่ง Head-Public Relation And Social Media นักศึกษาปี 4 สาขาการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟและเกม วิชาชีพเลือก อีสปอร์ต คณะดิจิทัลมีเดีย เล่าว่า สาขาวิชานี้ทำให้ได้ต่อยอดความ “รัก” ในการเล่นเกม สร้างเติบโตในสายอาชีพได้อย่างมั่นคง เพราะอุตสาหกรรมอีสปอร์ตเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และมีอนาคตทำงานได้ทั่วโลก ที่สำคัญยังสามารถพิสูจน์ให้ “ผู้ใหญ่” พ่อแม่ ผู้ปกครอง เห็นว่า เด็กเล่นเกม ก็สามารถมีอนาคตที่ดีในสายอาชีพที่ชอบได้อีกด้วย