News PR

หัวเว่ยเร่งผลักดันเทคโนโลยี 5.5G และ AI บนมือถือ มุ่งสู่โลกอัจฉริยะ

นายเดวิด หวัง กรรมการบริหารหัวเว่ยและประธานคณะกรรมการจัดการโครงสร้างพื้นฐานไอซีที กล่าวสุนทรพจน์ ณ มหกรรมเทคโนโลยีระดับโลก MWC Shanghai 2024 ในหัวข้อ ‘เร่งผลักดัน 5.5G และปูทางสู่ยุคเทคโนโลยี AI บนมือถือ’

โดยได้กล่าวย้ำว่า “ปี พ.ศ. 2567 ถือเป็นปีแรกของการเริ่มใช้ 5.5G เชิงพาณิชย์ และการบูรณาการ AI เข้ากับอุปกรณ์เคลื่อนที่ ในยุคที่เทคโนโลยี AI บนมือถือกำลังมาแรง และบริการอัจฉริยะแพร่หลายมากขึ้น เราต้องทำงานอย่างหนักเพื่อผลักดันความก้าวหน้าทั้งสองมิติสำคัญ นั่นคือ ‘เครือข่ายสำหรับ AI’ และ ‘AI สำหรับเครือข่าย’ เพื่อเร่งพัฒนา 5.5G และเพิ่มมูลค่าสูงสุดให้กับยุคทองของเทคโนโลยี AI บนมือถือ

ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา การใช้ 5G เชิงพาณิชย์ประสบความสำเร็จอย่างน่าทึ่งและสร้างผลลัพธ์เชิงบวกอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอุตสาหกรรมมือถือทั่วโลก เทคโนโลยี 5G ขยายขอบเขตการบริการระดับโลก มอบความเร็วที่สูงขึ้นเพื่อประสบการณ์การใช้งานเหนือระดับ พลิกโฉมการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลอย่างครอบคลุมทั่วโลก

5G ยังคงพัฒนาเร็วยิ่งขึ้นในปัจจุบัน การเปิดตัวมาตรฐานการใช้งาน 5G-A ส่งผลให้เครือข่าย 3GPP Release-18 ถูกระงับการใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2024 ในมหานครเซี่ยงไฮ้ ผู้ให้บริการและพันธมิตรมากกว่า   60 รายได้ประกาศการใช้งาน 5.5G เชิงพาณิชย์ ในขณะเดียวกัน เทอร์มินัล 5.5G เชิงพาณิชย์พร้อมเผยศักยภาพ และเครือข่าย 5.5G จะยังคงขับเคลื่อนคลื่นลูกใหม่ในการยกระดับเทคโนโลยีดิจิทัลต่อไป

เหตุการณ์สำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายทำให้เกิดยุคทองของการสื่อสารหลายครั้ง ในปี พ.ศ. 2534 เครือข่าย GSM และการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นยุคทองของการสื่อสารด้วยเสียงผ่านโทรศัพท์มือถือที่โทรได้ทุกที่ทุกเวลา ในปี พ.ศ. 2550 เครือข่าย 3G และสมาร์ทโฟนกลายเป็นดาวรุ่งของยุคอินเทอร์เน็ตบนมือถือ ทำให้การเข้าถึงข้อมูล ทั่วโลกทำได้อย่างง่ายดาย ในปี พ.ศ. 2567 เป็นปีแรกของ 5.5G เชิงพาณิชย์และการบูรณาการ AI เข้ากับอุปกรณ์ต่าง ๆ และยุคทองของเทคโนโลยี AI บนมือถือกำลังใกล้เข้ามา ซึ่งจะทำให้การบริการอัจฉริยะแพร่หลาย และเราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงสำคัญ 3 ประการในยุคนี้

ประการแรก ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์จะเปลี่ยนจากการสัมผัสเป็นแบบต่อเนื่องหลายรูปแบบ ซึ่งหมายความว่าวิธีที่เราโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์จะขยายไปสู่ภาษา ท่าทาง และอารมณ์ที่เป็นธรรมชาติ โดยมอบประสบการณ์ตามความต้องการได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน

ประการที่สอง การพลิกโฉมการผลิตเนื้อหา ก่อนหน้านี้ ผู้คนได้รับข้อมูลผ่านเครื่องมือค้นหาเป็นหลัก ในอนาคตข้อมูลดังกล่าวจะถูกสร้างขึ้นโดย AI และการผลิตข้อมูลจะไม่ถูกสร้างไว้ก่อน แต่จะถูกปรับแต่งตามความต้องการ ให้บริการแบบเรียลไทม์เฉพาะบุคคลอย่างครอบคลุม

ประการที่สาม อุปกรณ์เคลื่อนที่จะได้รับการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน เนื่องจากอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่จะเปลี่ยนจากสมาร์ทโฟนเป็นระบบผู้ช่วยอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยี AI terminal และ embodied AI ซึ่งหมายความว่าอุปกรณ์มือถือจะกลายเป็นช่องทางเชื่อมต่อ AI โดยสมบูรณ์แบบ

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเทคโนโลยี AI บนมือถือจะช่วยสร้างประสบการณ์สดใหม่ให้สังคมและสร้างโอกาสอันยิ่งใหญ่ให้กับอุตสาหกรรมมือถือ

การปฎิสัมพันธ์แบบใช้รูปภาพ (graphical interaction) ทำให้ปริมาณการรับส่งข้อมูลบนมือถือแซงหน้ากฎของมัวร์ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออัตรา DoU เติบโตขึ้น 125 เท่าในช่วง 10 ปี ซึ่งหมายความว่า อัตรา DoU เพิ่มขึ้นสองเท่าทุก 17 เดือน ในยุคทองของเทคโนโลยี AI บนมือถือที่กำลังจะมาถึง ปฎิสัมพันธ์รูปแบบใหม่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเนื้อหาที่ถูกสร้างขึ้นจะกลายเป็นวิธีการหลักในการรับข้อมูล แทนที่การดึงข้อมูล ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการโต้ตอบถึง 100 เท่า นอกจากนี้ การสร้างเนื้อหาด้วย AI (AIGC) ทำให้การผลิตเนื้อหาในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึง 3D และวิดีโอเชิงมิติพื้นที่ง่ายกว่าที่เคย ซึ่งจะทำให้ปริมาณเนื้อหาเพิ่มขึ้น 100 เท่า สืบเนื่องจากโมเดลขนาดเล็กจำนวนมากที่ติดตั้งในอุปกรณ์ ทำงานร่วมกับโมเดลพื้นฐานบนคลาวด์แบบเรียลไทม์ จำนวนวัตถุโต้ตอบจึงเพิ่มขึ้น 100 เท่า ทุกสิ่งล้วนขับเคลื่อนการเติบโตของข้อมูลระลอกใหม่ ซึ่งแซงหน้ากฎของมัวร์อีกครั้ง 

ในด้าน Internet of Vehicles (IoV) หรือยานยนต์ที่เชื่อมต่อได้แบบอัจฉริยะจะพลิกโฉมประสบการณ์การขับขี่ ทำให้การขับขี่มีความปลอดภัย ง่ายและเร้าใจยิ่งขึ้น ห้องโดยสารอัจฉริยะจะสร้างประสบการณ์การขับขี่อันน่าจดจำและประสบการณ์เครือข่ายกิกะบิตจะรองรับระบบช่วยขับขี่อัจฉริยะ  เทคโนโลยีการสตรีมวิดีโอหลายหน้าจอ  แอปพลิเคชัน Extended Reality (XR) และข้อกำหนดอื่น ๆ ซึ่งทำให้ยานยนต์อัจฉริยะเป็นพื้นที่อเนกประสงค์สำหรับการพักผ่อนและการทำงาน

ในขณะเดียวกัน เทคโนโลยีการขับขี่อัจฉริยะจะพลิกโฉมระบบการขับขี่แบบเดิม ข้อมูลการขับขี่ 100 GB จะถูกอัปโหลดเพื่อฝึกสอนระบบการขับขี่อัจฉริยะทุกเดือน ช่วยเพิ่มความแม่นยำในแบบจำลอง การรับรู้ และการตอบสนองในสภาพแวดล้อมการขับขี่บนถนนจริง นอกจากนี้ระบบการสื่อสารของยานยนต์ (Vehicle-to-Everything – V2X) ความเร็วระดับมิลลิวินาทีจะวางกลยุทธ์การขับขี่ที่เชื่อถือได้แบบเรียลไทม์และมีเสถียรภาพ โดยรวมแล้ว ระบบเชื่อมต่ออัจฉริยะในยานยนต์จะปลดล็อกคุณค่าการเชื่อมต่อ ทั้งในแง่ประสบการณ์การขับขี่ เวลาและความปลอดภัย โดยเครือข่ายเชื่อมต่อที่สมบูรณ์แบบจะส่งผ่านระบบเชื่อมต่ออัจฉริยะในยานยนต์

ขีดจำกัดของเทคโนโลยี Internet of Everything (IoE) ลดลงอย่างมากในยุคเทคโนโลยี AI บนมือถือ เนื่องจากเครื่องจักรสามารถประมวลผลข้อมูลและเคลื่อนที่ได้เหมือนมนุษย์ การเชื่อมต่อเครือข่ายจะขยายจากมนุษย์ไปสู่มนุษย์ดิจิทัล สร้างผู้ช่วย AI และพนักงาน AI อัจฉริยะที่เชื่อมต่อกันถึง 1 หมื่นล้านคน

สำหรับบุคคล ในอนาคตทุกคนจะมีผู้ช่วย AI ที่ทำงานบนสมาร์ตโฟน แว่นตา และอุปกรณ์ AI ระบบผู้ช่วยอัจฉริยะจะก้าวไปไกลกว่าเครื่องมือ และกลายเป็นเพื่อนร่วมทางที่ตอบสนองความต้องการในทุกสถานการณ์ เช่น การทำงาน       การพักผ่อน และการเรียนรู้แบบเรียลไทม์

ในภาคอุตสาหกรรม โรงงานอัจฉริยะทุกแห่งจะมีสมองเพื่อประมวลผล ซึ่งทำให้บูรณาการระบบพนักงาน AI เข้ากับกิจกรรมการผลิตได้อย่างไร้รอยต่อ พนักงาน AI มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองและตอบสนองได้อย่างแม่นยำ ยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพของกระบวนการตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ตั้งแต่กระบวนการผลิต การบำรุงรักษาไปจนถึงการตรวจสอบคุณภาพและการขนส่ง

จะมีผู้ช่วยและพนักงาน AI ที่เชื่อมต่อกันนับหมื่นล้านคน ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว AI จะมีจำนวนมากกว่าการเชื่อมต่อของผู้คน และช่วยบุกเบิกยุคใหม่ของการเชื่อมต่อระหว่างมนุษย์และเครื่องจักร

ยุคแห่งเทคโนโลยี AI บนมือถือจะเปิดโอกาสธุรกิจใหม่จำนวนมหาศาล ด้วยเหตุนี้ อุตสาหกรรมจึงต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อคว้าประโยชน์สูงสุดจากยุคทองนี้ โดย 5.5G เป็นเสาหลักสำคัญของยุคเทคโนโลยี AI บนมือถือ             หัวเว่ยเร่งการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งและผนึกกำลังร่วมกับผู้ให้บริการโทรคมนาคมและพันธมิตรในอุตสาหกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ใหม่ ๆ ซึ่งจะต้องอาศัยการทำงานร่วมกันในสองมิติสำคัญต่อไปนี้

ประการแรกคือ ‘เครือข่ายสำหรับ AI’ ซึ่งหมายถึงการใช้เครือข่ายขับเคลื่อนการพัฒนา AI เพื่อวางรากฐานอันมั่นคงสำหรับยุค AI บนมือถือ โดยบริการหลากหลายที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต จะเพิ่มข้อกำหนดศักยภาพเครือข่ายที่สูงขึ้น เช่น แบนด์วิธอัปลิงก์และดาวน์ลิงก์ขนาดใหญ่ที่มีค่าความหน่วงต่ำ เพื่อตอบสนองความต้องการของเทคโนโลยี Internet of People (IoP) และ IoV เราต้องเร่งขับเคลื่อนวิวัฒนาการของย่านความถี่ทั้งหมดเพื่อรองรับประสบการณ์ 5.5G เพื่อปลดล็อกคุณค่าสูงสุดของแต่ละย่านความถี่ และวางรากฐานสำหรับประสบการณ์เครือข่ายที่เหนือชั้น

ประการที่สอง คือการผลักดัน ‘AI สำหรับเครือข่าย’ ซึ่งหมายถึงการใช้ AI เพื่อเสริมศักยภาพเครือข่าย และทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเครือข่ายเพิ่มขึ้นในทุกมิติ หากต้องการนำ AI มาใช้อย่างเต็มศักยภาพ การปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินการและการบำรุงรักษา (O&M) เครือข่ายมีความจำเป็น เช่น โมเดลรากฐานโทรคมนาคมของเราช่วยเร่งวิวัฒนาการของเครือข่ายไปสู่ ​​L4 Autonomous Networks (ANs) และมีแอปพลิเคชันสองประเภท คือ copilots แบบ role-based และเอเจนท์เฉพาะสถานการณ์ โดย Copilots ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานในบทบาทต่าง ๆ ด้วยคำถามและคำตอบที่เกี่ยวข้อง เพื่อดูแลระบบ O&M ในทางกลับกัน เอเจนท์มีความสามารถในการเข้าใจวัตถุประสงค์ของผู้ใช้และประสานงานงานเพื่อแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ที่ซับซ้อนได้โดยอัตโนมัติ

ในยุคแห่งเทคโนโลยี AI บนมือถือ รากฐานเครือข่ายที่แข็งแกร่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชันและโมเดลธุรกิจที่เป็นนวัตกรรมใหม่ เราจำเป็นต้องยกระดับโมเดลธุรกิจและเพิ่มมูลค่าของการเชื่อมต่อในทุกสถานการณ์ ในตลาดผู้บริโภค จะมีแอปพลิเคชันอัจฉริยะใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และความต้องการด้านประสบการณ์ของผู้บริโภคจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกมิติ สิ่งนี้จะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยผู้ให้บริการเครือข่ายจะเปลี่ยนจากการสร้างรายได้จากการรับส่งข้อมูลไปสู่การสร้างรายได้จากประสบการณ์หลากหลายมิติ ส่วนในภาคอุตสาหกรรม บริการอัจฉริยะจะยังคงได้รับความนิยม และสร้างโอกาสในทำรายได้ให้กับผู้ให้บริการเครือข่าย เพื่อขยายขอบเขตจากบริการการเชื่อมต่อไปสู่บริการสุดล้ำที่ผสานการเชื่อมต่อแบบอัจฉริยะ

ผมเชื่อว่าในทศวรรษหน้า เราจะใช้เทคโนโลยี AI บนมือถือได้อย่างเต็มศักยภาพ โลกอัจฉริยะกำลังใกล้เข้ามาอย่างรวดเร็ว และเครือข่าย 5.5G จะเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาในอนาคต และเช่นเคย หัวเว่ยยังคงมุ่งมั่นผนึกกำลังร่วมกับผู้เล่นในอุตสาหกรรมทั้งหมดเพื่อคว้าโอกาสอันยิ่งใหญ่จากเทคโนโลยี AI บนมือถือและสร้างโลกอัจฉริยะที่เชื่อมต่อกันอย่างเต็มรูปแบบ

ปี พ.ศ. 2567 เป็นปีแรกของการเปิดตัว 5.5G เชิงพาณิชย์ และการเริ่มใช้งานเครือข่ายออปติคอล F5.5G การทำงานผสานกันระหว่างเครือข่าย, คลาวด์, และระบบอัจฉริยะทำให้แอปพลิเคชันอัจฉริยะแพร่หลายและมอบประสบการณ์การใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น ในมหกรรม MWC Shanghai 2024 หัวเว่ยร่วมเจาะลึกประเด็นท้าทายร่วมกับผู้ให้บริการเครือข่ายระดับโลก ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรม และผู้นำทางความคิดต่าง ๆ เช่น การขยายความสำเร็จของ 5G ในยุค 5G-A และการใช้ประโยชน์จากศักยภาพที่เกิดจากการเติบโตของรายได้ของเหล่าผู้ให้บริการเครือข่าย เพื่อนำทางสู่โลกอัจฉริยะได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่: https://carrier.huawei.com/cn/events/mwcs2024

SHARE
คนเล่าเรื่องไอที ที่เชื่อว่าการได้เดินทางและการพบปะพูดคุยกับผู้คนในสายงานต่าง ที่ไม่คุ้นเคยคือกำไรชีวิต...หลงไหลในการเดินทางเป็นชีวิตจิตใจ ตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อได้เจอเจ้าหน้าที่ ตม.
RELATED POSTS
แฟนคลับกรี๊ดสลบ! หลังซัมซุงปล่อยโฆษณา “Galaxy S10 x Lisa-Blackpink”
“The Warrior” ภาพยนตร์สั้น ภายใต้โปรเจกต์ PrimeTime Mini Series
Spotify เปิดตัวโครงการพิเศษ EQUAL Music Program ร่วมกับ ศิลปินแห่งเดือนคนแรกจากประเทศไทย

Leave Your Reply

*