แคสเปอร์สกี้พบตัวเลขนักช้อปออนไลน์วัยเยาว์เพิ่มสูง – เข้าดูเว็บเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ลดลง

จากรายงานโดยเทคโนโลยี Kaspersky Safe Kids ของแคสเปอร์สกี้ ในปี 2019 พบว่าเด็กและเยาวชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อดูหนังฟังเพลงและดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ต่างๆ มากขึ้น และใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อส่งข้อความลดลง อีกทั้งพบว่าเด็กในภูมิภาคนี้จำนวนมากใช้ www เพื่อชมทีวีซีรีส์และภาพยนตร์เรื่องโปรดอย่าง Game of Thrones และ Avengers

เมื่อเปรียบเทียบรายงานปี 2018 และ 2019 พบว่ามีอัตราการเติบโตสองหลักในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าเว็บไซต์ดูหนังฟังเพลงและดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ ดังนี้ อินโดนีเซีย เพิ่มจาก 38.72% เป็น 60.33% ฟิลิปปินส์ เพิ่มจาก 25.41% เป็น 49.12% สิงคโปร์ เพิ่มจาก 25.03% เป็น 42.32% ไทย เพิ่มจาก 11.28% เป็น 37.23% และเวียดนาม เพิ่มจาก 27.11% เป็น 50.14% มีเพียงมาเลเซียประเทศเดียวเท่านั้นที่มีอัตราลดลงเล็กน้อยคือ ลดจาก 60.08% เป็น 51.15% แต่ก็ยังเป็นกิจกรรมออนไลน์ที่เด็กและเยาวชนในมาเลเซียทำมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง

ในกลุ่มซอฟต์แวร์ วิดีโอและเพลงนี้ ยังรวมถึงการเข้าเว็บไซต์เพื่อดาวน์โหลดไฟล์จำพวกไฟล์ภาพยนตร์ เพลง มิวสิควิดีโอ คลิปบันทึกการแข่งขันกีฬา คอนเสิร์ต คลิปเพื่อการเรียนรู้ต่างๆ นอกจากนี้ยังรวมบริการไฟล์แชร์ริ่ง (file sharing) และทอเร็นต์แทรกเกอร์ (torrent tracker) ด้วย

นายโย เซียง เทียง ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า 

“ต้องยอมรับว่า เด็กและเยาวชนในปัจจุบันเป็นนักท่องอินเทอร์เน็ตดีกว่าผู้ใหญ่มาก ด้วยความอยากรู้อยากเห็น ความรวดเร็วฉับไวในการจับกระแส หรือสร้างออนไลน์เทรนด์ของตัวเอง ซึ่งนี่เป็นจุดสำคัญที่ผู้ปกครองต้องรู้นิสัยใจคอและความชอบของบุตรหลานของตน รายงานของเราเปิดเผยว่ากิจกรรมเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ วิดีโอและเพลงเป็นกิจกรรมโปรดของเด็กและเยาวชนมากขึ้น เราหวังว่ารายงานของเราจะช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจบุตรหลานได้มากขึ้นและปกป้องเด็กจากภัยอันตรายต่างๆ ในโลกดิจิทัล”

ความสนใจกิจกรรมประเภทซอฟต์แวร์ วิดีโอและเพลงนี้เพิ่มขึ้นทั่วโลก ตัวเลขโดยรวมพบความนิยมในภูมิภาคเอเชีย แอฟริกา และกลุ่มประเทศอาหรับ นอกจากนี้ ยังพบตัวเลขการใช้คอมพิวเตอร์ในการส่งข้อความออนไลน์ลดลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเด็กและเยาวชนนิยมใช้งานโมบายดีไวซ์มากกว่าคอมพิวเตอร์

สำหรับเด็กและเยาวชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ พบว่ากิจกรรมที่นิยมมาก 3 อันดับแรกคือ 1) ซอฟต์แวร์ วิดีโอและเพลง 2) ส่งข้อความออนไลน์ 3) อีคอมเมิร์ซ

นักช้อปออนไลน์วัยเยาว์เพิ่มสูง – เข้าดูเว็บเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ลดลง

รายงานฉบับเดียวกันนี้ยังแสดงแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของนักช้อปปิ้งออนไลน์ในกลุ่มเยาวชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเพิ่มขึ้น 13% เปรียบเทียบกับปีที่แล้วในช่วงเวลาเดียวกัน

สิงคโปร์มีจำนวนนักช้อปเยาวชนหรือผู้ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่ออีคอมเมิร์ซมากที่สุดคือ 18.82% (ปีที่แล้ว 5.58%) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 13.21% (ปีที่แล้ว 2.39%) มาเลเซียมีอัตราการเติบโต 8% คือเพิ่มจาก 4.70% เป็น 13.02% ขณะที่อินโดนีเซียและไทยมีอัตราการเติบโตเพียง 4.8% และ 1.62% ตามลำดับ ปิดท้ายด้วยเวียดนามที่มีอัตราลดลงเพียงเล็กน้อย คือ 1.03% เป็น 1.02%

ในกลุ่มอีคอมเมิร์ซนี้รวมถึงเว็บไซต์สำหรับธุรกรรมการเงินผ่านเว็บแอปพลิเคชั่น ร้านค้าและการประมูลออนไลน์ที่เสนอสินค้าและบริการเพื่อรองรับการจ่ายเงินออนไลน์ และเว็บไซต์ของร้านค้าที่ดำเนินการผ่านอินเทอร์เน็ตและแผนกออนไลน์ของร้านทั่วไปอีกด้วย

รายงานฉบับนี้ยังพบข้อมูลที่น่าสนใจคืออัตราการลดจำนวนลงในการเข้าดูเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ที่ไม่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชน ประเทศส่วนใหญ่มีตัวเลขความสนใจเนื้อหาโป๊เปลือยลดลง โดยมาเลเซียมีตัวเลขเพิ่มขึ้นเล็กน้อยคือ 0.09 สำหรับภูมิภาคเอเชียโดยรวมแล้วมีตัวเลขลดลงจาก 2.72% เหลือ 2.26% แต่ก็ยังเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่น

นายโย เซียง เทียง กล่าวเสริมว่า “น่ายินดีมากที่เห็นว่ามีเด็กและเยาวชนเพียงส่วนน้อยที่สนใจดูเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินงานของรัฐบาลประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ที่สามารถบล็อกการเข้าถึงเว็บไซต์เหล่านั้นได้ดี อย่างไรก็ตาม ตัวเลขความสนใจในกลุ่มอีคอมเมิร์ซเรื่องออนไลน์ช้อปปิ้งนั้นผู้ปกครองจำเป็นต้องแนะนำบุตรหลานอย่างใกล้ชิด ความเสี่ยงของอีคอมเมิร์ซมีมากมาย เช่น ผู้ขายปลอม สินค้าปลอม เว็บไซต์ที่มีมัลแวร์ ช่องทางการชำระเงินที่ถูกรุกล้ำ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อการเงินของครอบครัวได้”

คำแนะนำสำหรับผู้ปกครองยุคดิจิทัล

แม้เด็กจะฉลาดแต่ก็มักไม่เฉลียวใจต่อภัยคุกคามออนไลน์ เพื่อป้องกันเด็กและเยาวชนจากอันตรายในอินเทอร์เน็ต แคสเปอร์สกี้ขอแนะนำดังนี้

สื่อสาร – พูดคุย รับฟัง เป็นที่ปรึกษา ผู้ปกครองสามารถสอนบุตรหลานว่าสิ่งไหนควรทำ หรือไม่ควรทำ และควรทำให้เด็กรู้สึกสบายใจที่จะมาบอกกล่าวเมื่อเกิดเรื่อง เพราะเด็กก็คือเด็ก ที่มักจะวุ่ยวายและพลาดพลั้งได้

คุยเรื่องเทคโนโลยี – พูดคุยเรื่องเทคโนโลยีเป็นประจำ แม้ว่าบางครั้งผู้ปกครองจะต้องแกล้งไม่รู้ว่าจะตั้งค่า Snapchat, Tumblr หรือ Facebook ยังไง ซึ่งเป็นวิธีสร้างความเชื่อมั่น นอกจากนี้ผู้ปกครองยังสามารถแทรกสอนเรื่องภัยไซเบอร์หรือข่าวข้อมูลรั่วขณะพูดคุยได้ด้วย

กำหนดขอบเขต – ตั้งข้อกำหนดให้บุตรหลานเข้าใจตรงกันว่าสิ่งไหนทำได้ สิ่งไหนทำไม่ได้ และพูดคุยให้เด็กรู้ถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นหากไปในที่ไม่ควรไป หรือใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม

หาข้อมูลสอนตัวเอง – หาข้อมูลเรื่องที่เด็กและเยาวชนสนใจ รวมถึงภัยออนไลน์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น

ใช้ทรัพยากรที่มีให้บริการ – บริษัทหรือองค์กรบางแห่งมีข้อมูลที่จะช่วยแนะนำวิธีการดูแลเด็กและเยาวชนยุคดิจิทัล เทคโนโลยีอย่างเช่น Kaspersky Safe Kids จะช่วยให้ผู้ปกครองปกป้องบุตรหลานจากผู้ไม่หวังดี เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม หรือแม้กระทั่งตามหาโทรศัพท์ที่หายหรือถูกขโมยได้ ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะอยู่ในโซลูชั่นต่างๆ ของแคสเปอร์สกี้ เช่น Kaspersky Internet Security, Kaspersky Total Security และ Kaspersky Security for Cloud

 

SHARE
คนเล่าเรื่องไอที ที่เชื่อว่าการได้เดินทางและการพบปะพูดคุยกับผู้คนในสายงานต่าง ที่ไม่คุ้นเคยคือกำไรชีวิต...หลงไหลในการเดินทางเป็นชีวิตจิตใจ ตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อได้เจอเจ้าหน้าที่ ตม.
RELATED POSTS
Samsung เปิดตัว Exynos 880 สำหรับมือถือระดับกลางและใช้ 5G ได้ด้วย
สาวก iPhone เตรียมฟิน! กล้องหน้า 24 ล้านพิกเซลอาจมาใน iPhone 17 ทุกรุ่น
เร็วกว่ารุ่นไหน “Nokia 7.1” ได้อัพเดตเป็น “Android Pie” แล้ว

Leave Your Reply

*