แคสเปอร์สกี้ประกาศรายงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์ล่าสุดประจำไตรมาสที่ 4 ปี 2019 ซึ่งเป็นรายงานข้อมูลวิเคราะห์เรื่องการโจมตีผ่านเว็บ ภัยคุกคามทั่วไป และแหล่งที่มาของภัยคุกคาม 

รายงานเปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้สามารถสกัดกั้นภัยไซเบอร์ผ่านเว็บที่คุกคามผู้ใช้ในประเทศไทยได้มากกว่า 2.7 ล้านรายการ ในช่วงระยะเวลาเพียงสามเดือน นอกจากนี้ยังแนะให้ผู้ใช้ปฏิบัติตามสุขอนามัยที่ดีในการใช้งานไซเบอร์ (Cyber Hygiene) เพื่อความปลอดภัยขณะออนไลน์ในทุกๆ วัน

จากข้อมูลของ Kaspersky Security Network หรือ KSN พบว่าในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม ปี 2019 ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้สามารถสกัดกั้นภัยไซเบอร์ผ่านเว็บที่คุกคามคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในประเทศไทยได้ทั้งสิ้น 2,791,987 รายการ คิดเป็นผู้ใช้จำนวน 17.9% ที่โดนโจมตีโดยภัยคุกคามผ่านเว็บ ทำให้ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 106 ของโลกที่โดนโจมตีขณะใช้งานอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็จัดอยู่ในอันดับที่แตกต่างกันไป ดังนี้ ฟิลิปปินส์อันดับที่ 7 มาเลเซียอันดับที่ 23 เวียดนามอันดับที่ 36 อินโดนีเซียอันดับที่ 40 และสิงคโปร์อันดับที่ 138

นายโย เซียง เทียง ผู้จัดการทั่วไป ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “ข้อมูลวิเคราะห์ด้านการโจมตีออนไลน์และภัยคุกคามทั่วไปชี้ว่า ประเทศไทยมีความปลอดภัยไซเบอร์มากกว่าประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการสังเกตุของผม ผู้ใช้คนไทยมีความตระหนักรู้เรื่องความปลอดภัยไซเบอร์มากขึ้น ภาครัฐและองค์กรเอ็นเทอร์ไพรซ์กำลังเร่งต่อยอดการป้องกันการโจมตีออนไลน์ แต่ถึงอย่างไรก็ไม่ควรวางใจที่จำนวนภัยคุกคามน้อยลงเพราะแท้จริงแล้วกลับมีความซับซ้อนมากขึ้น ข้อมูลภัยคุกคามอัจฉริยะ หรือ Threat Intelligence จึงทวีความสำคัญมากขึ้นสำหรับทุกภาคอุตสาหกรรม”

คำแนะนำด้านสุขอนามัยที่ดีในการใช้งานไซเบอร์สำหรับบริษัทและองค์กร มีดังนี้

  • ให้ความรู้แก่พนักงานเรื่องความเสี่ยงต่างๆ เช่น กฏพื้นฐานในการไม่เปิดอีเมลจากคนที่ไม่รู้จัก รวมถึงการไม่เปิดไฟล์แนบและกด link
  • รณรงค์การมีพฤติกรรมที่ดีในการใช้พาสเวิร์ดในที่ทำงาน เช่น การใช้พาสเวิร์ดที่แตกต่าง และการเก็บรักษาพาสเวิร์ดไม่ให้พนักงานคนอื่นเข้าถึง
  • กำหนดระดับชั้นการเข้าถึง อนุญาตให้เข้าถึงเฉพาะผู้มีความจำเป็นเท่านั้น
  • เพิ่มข้อมูลภัยคุกคามอัจฉริยะเข้าสู่ระบบ อย่างเช่น Kaspersky Threat Intelligence เพื่อแจ้งข้อมูลเชิงลึกด้านภัยคุกคามไซเบอร์ที่จ้องโจมตีองค์กร
  • จัดฝึกอบรมความปลอดภัยไซเบอร์อย่างสม่ำเสมอ อัพเดทความรู้เรื่องภัยคุกคามล่าสุด และปรับปรุงพฤติกรรมของพนักงานเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน

นางสาวเบญจมาศ จูฑาพิพัฒน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทยของแคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “ปัจจุบันภัยคุกคามแพร่กระจายด้วยเทคนิคใหม่ๆ และยังใช้เทคนิคขั้นสูง การสร้างพฤติกรรมการใช้งานไซเบอร์ที่ดีนั้นเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมาก สุขอนามัยทางไซเบอร์นั้นเปรียบได้กับสุขภาพร่างการของเราที่จะต้องได้รับการดูแลใส่ใจอย่างสม่ำเสมอ แคสเปอร์สกี้ขอแนะนำให้ผู้ใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงก่อนที่จะสายเกินไป”

คำแนะนำเพื่อสุขอนามัยที่ดี 10 ประการสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป นอกเหนือไปจากการเลือกใช้โซลูชั่นเพื่อความปลอดภัย มีดังนี้

  1. ใช้พาสเวิร์ดที่แข็งแกร่งและไม่ซ้ำกันในแต่ละแอคเคาท์ – เปลี่ยนพาสเวิร์ดอย่างสม่ำเสมอ หากแอคเคาท์โดนรุกล้ำให้รีบเปลี่ยนพาสเวิร์ดทันที
  2. กรอกข้อมูลเฉพาะเว็บที่ปลอดภัย – ส่งข้อมูลผ่านเว็บไซต์ https เท่านั้น ซึ่งข้อมูลจะเข้ารหัสและปลอดภัย
  3. อัพเดทซอฟต์แวร์ – เช็คและอัพเดทซอฟต์แวร์ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดอยู่เสมอ
  4. ปกป้องดีไวซ์ – ล็อกจออยู่เสมอโดยใช้พินหรือพาสเวิร์ดเพื่อป้องกันการเข้าถึงโดยง่าย สแกนดีไวซ์เพื่อตรวจสอบมัลแวร์และอัพเดทซอฟต์แวร์หมดอายุ
  5. ระวังกลโกงฟิชชิ่ง – ศึกษาข้อมูลเพื่อรู้ทันเทคนิคกลโกง ระแวดระวังสงสัยเวลาได้รับอีเมลต่างๆ
  6. ไม่แชร์โลเกชั่น – ปิดฟังก์ชั่นโลเกชั่นในโทรศัพท์และกล้องถ่ายรูป ไม่แชร์รูปที่บ่งบอกสถานที่อยู่ในปัจจุบัน
  7. ระวังการแชร์ข้อมูลส่วนตัว – ไม่แชร์ข้อมูลมากเกินไป และหมั่นตรวจสอบว่าข้อมูลรั่วไหลไปแหล่งอื่นหรือไม่
  8. ใช้ระบบการยืนยันตัวตนผ่านสองขั้นตอน – ใช้ระบบสองขั้นตอนกับแอคเคาท์ที่สำคัญเพื่อเพิ่มความปลอดภัย
  9. ใช้ WiFi ที่ปลอดภัย – อัพเดทความปลอดภัยของ WiFi ที่ใช้ในบ้าน และสร้างแอคเคาท์ VPN จากผู้ให้บริการที่น่าเชื่อถือ
  10. สำรองข้อมูล – สำรองข้อมูลในดีไวซ์อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงตรวจสอบคุณภาพของฮาร์ดไดรฟ์ที่ใช้เก็บข้อมูล

ตัวเลขสถิติไตรมาส 4 ปี 2019 ของประเทศไทยที่น่าสนใจ

ภัยคุกคามผ่านเว็บ

  • ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ แลป สามารถตรวจจับและสกัดภัยคุกคามผ่านเว็บได้ 2,791,987 รายการ จากคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ที่ร่วมกับ KSN
  • ผู้ใช้จำนวน 9% ถูกโจมตีด้วยภัยคุกคามผ่านเว็บ
  • ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 106 ของโลกที่โดนโจมตีขณะใช้งานอินเทอร์เน็ต

ภัยคุกคามทั่วไป

  • ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ แลป สามารถตรวจจับและสกัดภัยคุกคามทั่วไปได้ 12,771,554 รายการ จากคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ที่ร่วมกับ KSN
  • ผู้ใช้จำนวน 4% ถูกโจมตีด้วยภัยคุกคามทั่วไป
  • ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 83 ของโลก

แหล่งที่มาของภัยคุกคาม

  • มีเหตุการณ์ที่เกิดจากเซิฟเวอร์ในประเทศไทยทั้งสิ้น 82,963 เหตุการณ์ คิดเป็นสัดส่วน 02% จากทั่วโลก
  • ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 42 ของโลก
  • ประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ในอันดับ 1 คิดเป็นตัวเลขสัดส่วน 84%

ข้อมูลนี้ แคสเปอร์สกี้ได้รับจากผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ที่อนุญาตให้ KSN ด้วยความสมัครใจ ผู้ใช้จำนวนหลายล้านคนจากทั่วโลกได้เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อวิเคราะห์กิจกรรมมุ่งร้ายทางไซเบอร์ ท่านสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมจากรายงาน Global Kaspersky Security Bulletin for Q4 2019 ได้ที่เว็บ Securelist.com

ขอบคุณที่มา: Kaspersky Security

 

SHARE
คนเล่าเรื่องไอที ที่เชื่อว่าการได้เดินทางและการพบปะพูดคุยกับผู้คนในสายงานต่าง ที่ไม่คุ้นเคยคือกำไรชีวิต...หลงไหลในการเดินทางเป็นชีวิตจิตใจ ตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อได้เจอเจ้าหน้าที่ ตม.
RELATED POSTS
โปรเซสเซอร์ Intel Core Ultra นวัตกรรมเหนือระดับ ผนวกขุมพลังแห่ง AI เข้ากับ PC
ปูดข้อมูลกล้องหลัง HUAWEI Mate Series จะมาพร้อมเซ็นเซอร์รับภาพแบบ RYYB
เคาะราคา “Samsung Galaxy A9 (2018)” เพียง 19,990 บาท

Leave Your Reply

*