หัวเว่ยชี้ ศูนย์กลางความเป็นเลิศ 4 ด้านสำคัญ พาไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางดิจิจทัลของภูมิภาคอาเซียนอย่างเต็มตัว พร้อมกับการผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล

การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลหรือ “Digital Transformation” ได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้ ในฐานะเทรนด์ด้านเทคโนโลยีที่จะนำพาอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไปสู่อนาคตของการเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างแท้จริง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการของภาคธุรกิจ

อย่างไรก็ตาม การจะก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว จะต้องมีการพัฒนาในหลาย ๆ ส่วนสำคัญเพื่อที่จะเข้าถึงเป้าหมายดังกล่าวได้ ภายในงาน Powering Digital Thailand 2021: Huawei Cloud & Connect  

นายวรกาน ลิขิตเดชาศักดิ์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีเครือข่ายโทรคมนาคม บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวถึงวิสัยทัศน์ที่จะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลของภูมิภาคพร้อมมุ่งสู่ยุคดิจิทัล ด้วยการนำโซลูชันและเทคโนโลยีเข้าไปยกระดับอุตสาหกรรมหรือเศรษฐกิจดั้งเดิม

ทั้งนี้ กระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลที่จะช่วยให้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นไปได้อย่างรวดเร็วขึ้น ประกอบด้วย การผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศ 4 ด้าน ในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้และช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ดังนี้

ศูนย์กลางความเป็นเลิศ 4 ด้านสำคัญที่จะพาไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัล

นายวรกานกล่าวถึง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและความเป็นเลิศของการเป็นศูนย์กลางทางศักยภาพ 4 ด้าน ที่จะนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน ไว้ว่า

ด้านที่ 1 คือความเป็นเลิศด้านการเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อที่มีความรวดเร็วสูงและมีเสถียรภาพ ซึ่งประเทศไทยมีความพร้อมในด้านการเป็นผู้นำของโครงข่าย 5G ในภูมิภาค รวมถึงโครงข่ายไฟเบอร์บรอดแบนด์ความเร็วสูงทั่วประเทศ จะเป็นโครงข่ายสำคัญในการเชื่อมต่อการสื่อสารและข้อมูลต่างๆ

ด้านที่ 2 คือการเป็นศูนย์กลางของศูนย์ข้อมูลของภูมิภาค (Data Center Hub)

ซึ่งหัวเว่ยได้มีการสร้าง Data Center ในประเทศไทย เพื่อให้องค์กรต่างๆในประเทศไทย มีโอกาสเข้าถึงการใช้งานของระบบคลาวด์ได้มากขึ้น ผลักดันองค์กรเผื่อเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล รวมถึงการดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติ เลือกเข้ามาลงทุนในประเทศไทยและใช้ Data Center ในประเทศไทยมากขึ้น เข้าสู่ศักยภาพที่สำคัญ

ด้านที่ 3 คือการเป็นศูนย์กลางของดิจิทัลอีโคซิสเต็ม ประเทศไทยมีพื้นที่กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความพร้อมเช่น EEC รวมถึง การมีศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้าน 5G โดยเฉพาะ เช่น 5G EIC (Ecosystem Innovation Center)

ทำให้ประเทศไทยมีความพร้อมและศักยภาพในการพัฒนาโซลูชั่นของพาร์ทเนอร์และ System Integrator ในประเทศไทย และนำเทคโนโลยีมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆได้มากขึ้น ดังเช่นที่ได้เริ่มทำในด้าน สาธารณสุข และเกษตรกรรม ในปีที่ผ่านมา

ด้านที่ 4 คือศักยภาพของการเป็นศูนย์กลางของบุคคลากรด้านดิจิทัล ซึ่งประเทศไทยมีจำนวนของบุคคลากรด้านดิจิทัลและอุตสาหรรมใกล้เคียงเป็นจำนวนมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาค ซึ่งจะเป็นสิ่งสามารถดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยได้มากขึ้น เมื่อประเทศไทยมีจำนวนบุคคลากรด้านดิจิทัลเป็นจำนวนมากในการรองรับความต้องการในอนาคต

เทคโนโลยี 5G + Cloud +AI
ผสานพลังสามเทคโนโลยี 5G + Cloud +AI

องค์ประกอบหลักของเทคโนโลยีและโซลูชั่นเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลคือ การเชื่อมต่อ การเก็บข้อมูล และการประมวลผล ซึ่งการพัฒนาโซลูชั่นต่างๆในอนาคตจะพัฒนาภายใต้เทคโนโลยีหลัก 3 ส่วน คือ 5G, Cloud, และ AI ทั้งนี้ 5G จะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการยกระดับการเชื่อมต่อที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา

ทั้งในด้านความเร็ว ความเสถียร และความหน่วงต่ำ ทำให้เกิดการเชื่อมต่ออย่างครบวงจร ไม่ใช่แค่การเชื่อมต่อของสมาร์ทโฟน แต่เป็นยังรวมถึงอุปกรณ์สมาร์ทดีไวซ์อื่นๆ เช่น อุปกรณ์ IoT, นาฬิกา รถยนต์ และอื่นๆ อีกมากมาย และ 5G จะมีแบนด์วิธและความเร็วที่มากขึ้นและช่วยส่งข้อมูลที่มีปริมาณมากขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

เทคโนโลยีคลาวด์จะทำให้เกิดการจัดเก็บข้อมูลปริมาณมากอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในอนาคตอันใกล้มีการคาดหมายว่าองค์กรต่างๆจะมีการใช้คลาวด์เพิ่มากขึ้นเรื่อยๆ และปริมาณการใช้คลาวด์จะเป็นตัวชี้วัดระดับการเป็นดิจิทัลขององค์กรต่าง ๆ หลังจากมีการเชื่อมต่อที่สมบูรณ์และประมาณการเก็บข้อมูลที่เพียงพอแล้ว

เทคโนโลยี AI จะมีส่วนเข้ามาช่วยประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้องค์กรต่าง ๆ สามารถยกระดับการให้บริการได้อย่างยืดหยุ่นและหลากหลาย  

5G เพื่อปลดล็อกการเชื่อมต่อที่สมบูรณ์แบบ

การเชื่อมต่ออย่างมีศักยภาพเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาไปสู่ยุคดิจิทัลอย่างยั่งยืน และ 5G เป็นโซลูชันที่ตอบโจทย์ในเรื่องของการเชื่อมต่ออย่างแท้จริง ประการแรกคือเกิดการเชื่อมต่อแบบกิกะบิตที่ต้องการความเร็วสูงที่ 5G สามารถทำได้ นำไปสู่การเกิดการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมความบันเทิงอย่างแพร่หลาย ต่อมาคือการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อัตโนมัติต่าง ๆ เช่น รถไร้คนขับ ซึ่งการเชื่อมต่อลักษณะนี้ไม่ได้เป็นการเชื่อมต่อกับศูนย์ควบคุมเพียงอย่างเดียว รถอัตโนมัติแต่ละคันยังจะต้องเชื่อมต่อเพื่อสื่อสารกันเอง ก่อให้เกิดการทำงานประสานกันได้อย่างลื่นไหล และประการสุดท้ายคือการเชื่อมต่อที่ต้องการความหน่วงต่ำพิเศษเพื่อความแม่นยำในการสั่งงาน เช่น การใช้งานในหุ่นโดรนหรือควบคุมเครื่องจักรต่าง ๆ ที่ต้องการตอบสนองอย่างทันที เป็นต้น

5G รวมถึงเทคโนโลยีด้านการเชื่อมต่อและการประมวลผลอื่นๆ จะกลายเป็นส่วนสำคัญในการเปลี่ยนผ่านภาคอุตสาหกรรมให้ไปสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างมั่นคง การเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพจะทำให้เกิดการนำเทคโนโลยีเข้าไปยกระดับอุตสาหกรรม ส่งผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทย

และเมื่อผสานรวมกับเทคโนโลยี Cloud และ AI จะเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานของภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศไทย รองรับการเป็นดิจิทัลฮับแห่งอาเซียนได้อย่างแท้จริง

SHARE
คนเล่าเรื่องไอที ที่เชื่อว่าการได้เดินทางและการพบปะพูดคุยกับผู้คนในสายงานต่าง ที่ไม่คุ้นเคยคือกำไรชีวิต...หลงไหลในการเดินทางเป็นชีวิตจิตใจ ตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อได้เจอเจ้าหน้าที่ ตม.
RELATED POSTS
ลือ Samsung อาจเซอร์ไพรส์แฟนๆ ด้วย Galaxy S24 FE สเปคระดับเรือธง ในราคาเข้าถึงง่าย คาดเปิดตัวพร้อม Tab S10 Series เร็วๆ นี้
หลุดชื่อ iPhone ชุดใหม่ อาจใช้ชื่อ “iPhone XC”, “iPhone Xs” และ “iPhone Xs Plus”
แอปเปิลเตรียมอัป MacBook Pro รุ่นชิป M5 ปีหน้า หลังเพิ่งเปิดตัว M4 Series

Leave Your Reply

*