หัวเว่ยเปิดตัว 6 ผลิตภัณฑ์และบริการที่มาพร้อมนวัตกรรม ภายในงานประชุมสำหรับนักพัฒนาของหัวเว่ยประจำปี พ.ศ. 2564 หรือ Huawei Developer Conference (HDC.Cloud) 2021

ซึ่งได้แก่ คลัสเตอร์คลาวด์ความเร็วสูง HUAWEI CLOUD CCE Turbo, ผู้ช่วยเขียนโปรแกรมอัจฉริยะ CloudIDE, ฐานข้อมูลแบบ GaussDB (สำหรับ openGauss), บริการ Trusted Intelligent Computing Service หรือ TICS, รูปแบบบริการ Pangu Model (รวมถึงโมเดล Chinese NLP ที่ใหญ่ที่สุดในโลกและโมเดล CV), และโครงสร้างพื้นฐานทางซอฟต์แวร์เพื่อระบบประมวลผลอันหลากหลาย

ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ทั้ง 6 นี้ ถือเป็นมิติใหม่ของประสิทธิภาพและคุณภาพที่จะช่วยยกระดับบรรดานักพัฒนาในการสร้างมาตรฐานใหม่ นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้ประกาศการลงทุน 220 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในโครงการ Huawei Developer Program 2.0 ปีนี้

ซึ่งจะรวมถึงโครงการ HUAWEI CLOUD Partner Innovation Program ที่เพิ่งประกาศเปิดตัวไป โครงการ Kunpeng OpenMind Project และโครงการ Ascend OpenMind Project ซึ่งการลงทุนสนับสนุนนี้จะช่วยให้ทั้ง HUAWEI CLOUD โครงการ Kunpeng และโครงการ Ascend เดินหน้าเติบโตและสร้างอีโค ซิสเต็มที่แข็งแกร่งได้อย่างต่อเนื่อง

 นายริชาร์ด ยู ผู้อำนวยการของหัวเว่ย และซีอีโอของกลุ่มธุรกิจคลาวด์และกลุ่มธุรกิจเพื่อผู้บริโภคของหัวเว่ย กล่าวเปิดงานว่า “ภายในปี พ.ศ. 2568 บริษัทหรือองค์กรทั่วโลกทั้งหมดจะหันมาใช้เทคโนโลยีคลาวด์ โดยคลาวด์ถือเป็นอนาคตของอุตสาหกรรมไอซีที และเป็นพื้นฐานของการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีขององค์กรเหล่านั้น ซึ่งนักพัฒนาก็เป็นเหมือนจิตวิญญาณของอุตสาหกรรมนี้ หัวเว่ยจะเดินหน้าเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม และทำงานร่วมกับนักพัฒนาและพันธมิตรเพื่อเร่งการเติบโตของคลาวด์และการเปลี่ยนผ่านอย่างอัจฉริยะของทุกธุรกิจ”

ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่สุดล้ำ 6 รายการเพื่อโลกของคลาวด์และ AI

ด้วยการพัฒนาและนำเทคโนโลยีคลาวด์ รวมทั้ง AI มาใช้อย่างกว้างขวาง ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ จึงเร่งเดินหน้าเข้าสู่ความเป็นอัจฉริยะอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งจะนำไปสู่โอกาสในสามช่องทาง ได้แก่ การพัฒนาแอปพลิเคชันให้ทันสมัย การสร้างมูลค่าให้กับข้อมูล และการพัฒนา AI ในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งทั้ง 6 ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ จากหัวเว่ยจะช่วยให้นักพัฒนามีการเตรียมพร้อมสำหรับโอกาสที่กำลังจะมาถึงได้

HUAWEI CLOUD CCE Turbo: เร่งขับเคลื่อนนวัตกรรมแอปพลิเคชันระดับองค์กร

การปรับกระบวนการจัดการคอนเทนเนอร์เป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการพัฒนาแอปพลิเคชันให้มีความทันสมัย เนื่องจากความนิยมใช้คอนเทนเนอร์ที่แพร่หลายในระบบหลักและบริการเชิงนวัตกรรมต่าง ๆ ของธุรกิจองค์กร ส่งผลให้หลายองค์กรมีความคาดหวังสูงขึ้นต่อประสิทธิภาพ ความยืดหยุ่น และศักยภาพในการจัดลำดับงานของคอนเทนเนอร์ ซึ่งHUAWEI CLOUD CCE Turbo สามารถเข้ามาช่วยเร่งขับเคลื่อนการประมวลผล ประสิทธิภาพของเครือข่าย และการจัดลำดับงานดังกล่าว

HUAWEI CLOUD CloudIDE: ผู้ช่วยอัจฉริยะเพื่อการเขียนโปรแกรมสำหรับนักพัฒนา

CloudIDE มอบประสบการณ์การเขียนโปรแกรมที่คล่องตัวและรวดเร็วให้กับนักพัฒนา เติมเต็มให้การเขียนโปรแกรมออนไลน์อย่างอัจฉริยะสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านทุกเทอมินัลปลายทางได้อย่างมั่นคงและแม่นยำ

ข้อมูลสำคัญของธุรกิจองค์กรสู่ cloud

สำหรับธุรกิจที่ต้องการขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูล และดำเนินงานบนคลาวด์อย่างแท้จริง จำเป็นต้องผ่านขั้นตอนสำคัญในการโอนย้ายฐานข้อมูลสู่ระบบคลาวด์ โดย HUAWEI CLOUD GaussDB (สำหรับ openGauss) ต่างจากฐานข้อมูลแบบเดิมและมีคุณลักษณะเด่น รวมถึงประสิทธิภาพอันทรงพลังที่มาพร้อมกับความสามารถในการประมวลผลที่สูงกว่าผลิตภัณฑ์ลักษณะเดียวกันตัวอื่น ๆ ในตลาดมากกว่า 54% ทั้งยังส่งมอบความยืดหยุ่นได้มากกว่าและเข้าใช้งานได้สะดวกกว่า

Trusted Intelligent Computing Service (TICS): ปลดล็อคทุกศักยภาพของข้อมูล เสริมแกร่งความปลอดภัยขึ้นอีกขั้น

ข้อมูลนับเป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการการผลิต จำเป็นต้องมีการรับส่งกระแสข้อมูลอย่างลื่นไหลเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูงสุด อย่างไรก็ตาม การเสริมประสิทธิภาพให้เกิดความเปิดกว้าง (openness) การแบ่งปัน (sharing) และกระแสข้อมูล (circulation) ต่างเป็นเรื่องยากในความเป็นจริง HUAWEI CLOUD TICS จะมอบความปลอดภัยอันเหนือชั้นสำหรับข้อมูลในแอปพลิเคชันนวัตกรรมที่ทำงานประสานกัน ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้เกิดกระแสข้อมูลที่ปลอดภัยและสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

HUAWEI CLOUD Pangu Model: มาพร้อม NLP Model สัญชาติจีนที่ใหญ่ที่สุดในโลกและ vision pre-trained model

ด้วยโมเดลการพัฒนา AI เชิงอุตสาหกรรม ซึ่งประกอบด้วย pre-training + downstream fine-tuning” ทำให้ Pangu Model เร่งให้เกิดการรับ AI มาใช้ในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในวงกว้างได้อย่างหลากหลายยิ่งขึ้น และส่งผลให้เกิดการใช้งาน AI อย่างครอบคลุมยิ่งขึ้น โดยมีสามจุดเด่นสำคัญคือ ความสามารถด้านการประเมินที่แข็งแกร่ง ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยข้อมูลตัวอย่างขนาดเล็ก (small-sample learning) และโมเดลความแม่นยำสูง

ซอฟต์แวร์สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน: เสริมศักยภาพการประมวลผลที่หลากหลาย

นวัตกรรมด้าน Cloud ต้องอาศัยการสนับสนุนจากเทคโนโลยีตั้งต้นของซอฟต์แวร์ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นระบบปฏิบัติการ ฐานข้อมูล หรือ Middleware หัวเว่ยจึงพัฒนาชุดประมวลผลซอฟต์แวร์ขั้นพื้นฐาน ที่ประกอบด้วยระบบปฏิบัติการ ฐานข้อมูลระดับธุรกิจองค์กร และกรอบประมวลผล AI แบบรองรับทุกสถานการณ์ใช้งาน เพื่อเสริมกำลังในการประมวลผลที่หลากหลาย ที่จะช่วยเติมเต็มทุกศักยภาพของนวัตกรรมจาก HUAWEI CLOUD

ทุ่มเงินลงทุน 220 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับโครงการ Huawei Developer Program 2.0 พร้อมเปิดตัว HUAWEI CLOUD Partner Innovation Program

ภายในงาน HDC.Cloud 2021 หัวเว่ยได้ประกาศว่าในปี พ.ศ. 2564 นี้จะมีการลงทุนมูลค่า 220 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับโครงการ Huawei Developer Program 2.0 รวมถึงเปิดตัวโครงการริเริ่มจำนวนมาก เช่น HUAWEI CLOUD Partner Innovation Program, Kunpeng OpenMind Project และ Ascend OpenMind Project เป็นต้น

นายจาง ผิงอัน (Zhang Ping’an) ประธานกลุ่มธุรกิจคลาวด์และบริการคลาวด์สำหรับผู้บริโภคของหัวเว่ย กล่าวว่า หัวเว่ยจะลงทุนในโครงการ HUAWEI CLOUD Partner Innovation Program มูลค่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เน้นการช่วยเหลือ  พาร์ทเนอร์ด้านบริการ Software-as-a-Service (SaaS) และผู้ขายซอฟต์แวร์อิสระ (ISV) รวมทั้งจัดหาทรัพยากรคลาวด์ สร้างความเป็นไปได้ด้านเทคโนโลยี และสนับสนุนด้านการส่งเสริมธุรกิจ ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะครอบคลุมขอบข่ายเฉพาะทาง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านไมโครเซอร์วิสกับตู้คอนเทนเนอร์, บริการ SaaS, บิ๊กดาต้า, AI, วิดีโอ และเทคโนโลยีเอดจ์อัจฉริยะ (Intelligent Edge)

นับตั้งแต่เปิดตัว Huawei Developer Program เมื่อปี พ.ศ. 2558 หัวเว่ยก็ยึดมั่นต่อหลักปรัชญาที่ว่าด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์แบบเปิด การสร้างความพร้อมให้พาร์ทเนอร์ (Partner Enablement) และการพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถ (Talent Development) พร้อมการสร้างอีโคซิสเต็มที่มั่นคงและเฟื่องฟูให้กับแวดวงอุตสาหกรรม ปัจจุบัน HUAWEI CLOUD, Kunpeng และ Ascend ได้ดึงดูดนักพัฒนาเข้ามามีส่วนร่วมแล้วกว่า 2.4 ล้านคน โดย HUAWEI CLOUD IaaS ขึ้นเป็นอันดับสองของจีนและเป็นอันดับห้าของโลก กลายเป็นผู้ค้าบริการคลาวด์ในกระแสหลักที่เติบโตเร็วที่สุด

เสริมพลังดิจิทัลไทยแลนด์: เสริมแกร่งประเทศไทยด้วยโครงการพัฒนาบุคลากร ICT ที่หลากหลาย

ในฐานะผู้ให้บริการด้านคลาวด์ระดับโลกรายแรกที่สร้างศูนย์ข้อมูลในประเทศไทย เพื่อรองรับการให้บริการในตลาดไทยอย่างแท้จริง HUAWEI CLOUD มุ่งมั่นที่จะช่วยผลักดันให้วิสัยทัศน์ Thailand 4.0 ของประเทศไทยเป็นจริงขึ้นมาได้

อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐาน ICT ถือเป็นเพียงก้าวแรกในการขึ้นเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลของภูมิภาค อีกหนึ่งหัวใจสำคัญที่ขาดไม่ได้คือการเสริมแกร่งและพัฒนาทักษะให้แก่บุคลากรด้าน ICT ในประเทศ

ด้านการฝึกอบรมผ่านออนไลน์ หัวเว่ย ประเทศไทย ได้จัดคอร์สสัมมนาผ่านเว็บไซต์ในชื่อว่า Cloud Diary ซึ่งเกิดจาก ความร่วมมือระหว่างลูกค้าในประเทศและพาร์ทเนอร์จากทุกภาคอุตสาหกรรมที่มาช่วยแบ่งปันประสบการณ์การใช้งานคลาวด์ที่ดีที่สุดให้แก่ผู้สนใจ โดยงานสัมมนาดังกล่าวมีผู้เข้ารับชมเป็นนักพัฒนา นิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย อาจารย์ และพนักงานในองค์กรต่าง ๆ มากถึงกว่า 700,000 คน ทั้งนี้ หัวเว่ยจะยังคงจัดงานสัมมนาผ่านเว็บไซต์ดังกล่าวต่อไปใน ปี พ.ศ. 2564 ซึ่งเน้นแบ่งปันองค์ความรู้ที่จำเป็นสำหรับยุคดิจิทัลในบริบทที่ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงมากที่สุด

สำหรับการฝึกอบรมแบบออฟไลน์ HUAWEI CLOUD ได้จัดงาน Warrior Workshop ขึ้นเป็นประจำทุกเดือน ครอบคลุมผู้ใช้งานเทคโนโลยีด้าน IT จากหลากหลายองค์กรธุรกิจ เอสเอ็มอี และสตาร์ทอัพ นอกจากการเสวนาในหัวข้อที่น่าสนใจ เช่น การรักษาความปลอดภัย การย้ายเซิร์ฟเวอร์และศูนย์ข้อมูลขึ้นไปบนคลาวด์ AI และแมชชีนเลิร์นนิง ยังมีการจัดเวิร์คช็อปฝึกฝนด้วยการลงมือทำซึ่งมีมืออาชีพคอยกำกับดูแลทีละขั้นตอน

นอกจากนี้ การแข่งขัน Cloud Developer Contest ซึ่งจะจัดขึ้นในปีนี้โดย HUAWEI CLOUD ประเทศไทย จะได้รับการอัพเกรดเป็นโครงการ Huawei Spark สำหรับบริษัทสตาร์ทอัพสายเทคโนโลยี โครงการนี้ตั้งเป้าในการสนับสนุนและเร่งผลักดันการเติบโตของสตาร์ทอัพเพื่อการเชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์แบบในโลกอัจฉริยะ ซึ่งหัวเว่ย ประเทศไทย จะร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในภาคอุตสาหกรรมเพื่อส่งมอบทรัพยากรด้านการเงิน การฝึกอบรมเชิงเทคนิค วิธีการเข้าทำตลาด และด้านเครือข่าย เพื่อช่วยสร้างศักยภาพที่จำเป็นให้แก่เหล่าสตาร์ทอัพ

โครงการ Huawei Spark Program สำหรับประเทศไทย อยู่ในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน พ.ศ. 2564 แบ่งเป็นช่วงเปิดรับใบสมัคร คัดเลือกครั้งแรก การฝึกอบรม คัดเลือกครั้งที่สอง และการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ โครงการนี้เกิดจากความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในประเทศไทยซึ่งคาดว่าน่าจะมีสตาร์ทอัพเข้าร่วมมากกว่า 100 แห่ง

โดยจะมีคณะกรรมการตัดสินที่ประกอบด้วยบุคลากรจากหัวเว่ยและพาร์ทเนอร์ ทั้งนี้ ผู้ชนะจากโครงการจะได้รับรางวัลในรูปแบบที่หลากหลาย ตั้งแต่สิทธิ์เข้าร่วมโครงการ Huawei Spark Fire ได้รับ Cloud Credit โดยอ้างอิงจากเกณฑ์ที่กำหนด

ทั้งนี้ หัวเว่ย ประเทศไทย หวังว่าโครงการการแข่งขันนี้จะช่วยดึงสตาร์ทอัพเทคโนโลยี ผู้นำในภาคอุตสาหกรรม ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำ คนหนุ่มสาวที่มีพรสวรรค์ และผู้ประกอบการให้มาร่วมกันพูดคุยเกี่ยวกับนวัตกรรมและแอปพลิเคชันใหม่ล่าสุดของเทคโนโลยี ICT ครอบคลุมในหลากหลายภาคอุตสาหกรรม ผู้สนใจสามารถเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแข่งขัน Huawei Spark Thailand Competition ได้ที่ https://www.facebook.com/HuaweiCloudTH

ข่าวประชาสัมพันธ์

SHARE
คนเล่าเรื่องไอที ที่เชื่อว่าการได้เดินทางและการพบปะพูดคุยกับผู้คนในสายงานต่าง ที่ไม่คุ้นเคยคือกำไรชีวิต...หลงไหลในการเดินทางเป็นชีวิตจิตใจ ตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อได้เจอเจ้าหน้าที่ ตม.
RELATED POSTS
ออเนอร์เพลย์ รับรางวัล Best of IFA 2018 จากสื่อชั้นนำระดับโลก
AIS Go Green ตอกย้ำการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ด้านสิ่งแวดล้อม ขานรับนโยบาย ปลูกต้นไม้ 100,000 ต้น
รายแรกในไทย! BenQ เปิดตัวกระดานอัจฉริยะที่รับรองโดย Google EDLA

Leave Your Reply

*