News

การ์ทเนอร์คาดอีกสองปี องค์กร 30% จะมองว่าการใช้โซลูชันการยืนยันและพิสูจน์ตัวตนแบบเอกเทศ

การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าในปี 2569 การโจมตีแบบ Deepfakes ที่สร้างโดยปัญญาประดิษฐ์กับเทคโนโลยีระบุตัวตนบนใบหน้าหรือ Face Biometrics เป็นเหตุให้องค์กรประมาณ 30% มองว่าโซลูชันการยืนยันและพิสูจน์ตัวตนจะไม่น่าเชื่อถืออีกต่อไปหากนำมาใช้แบบเอกเทศ

มร. อากิฟ ข่าน รองประธานฝ่ายวิจัยการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มีจุดเปลี่ยนสำคัญด้าน AI เกิดขึ้นหลายประการ นั่นทำให้เกิดการสร้างภาพสังเคราะห์ขึ้นได้ โดยภาพใบหน้าคนจริง ๆ ที่สร้างขึ้นปลอม ๆ เหล่านี้ หรือที่เรียกว่า Deepfakes นั้น เปิดโอกาสให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถนำมาใช้เพื่อทำลายระบบการพิสูจน์ทราบตัวตนด้วยไบโอเมตริกซ์หรือทำให้ระบบใช้การได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ผลที่ตามมาก็คือ องค์กรต่าง ๆ อาจเริ่มตั้งคำถามถึงความน่าเชื่อถือของโซลูชันการยืนยันและพิสูจน์ตัวตน เนื่องจากไม่สามารถบอกได้ว่าใบหน้าบุคคลที่ได้รับการยืนยันนั้นเป็นบุคคลที่มีชีวิตจริงหรือเป็นของปลอมกันแน่”

กระบวนการยืนยันและพิสูจน์ตัวตนโดยใช้เทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์บนใบหน้าในวันนี้อาศัยการตรวจจับการโจมตีหลอก หรือ Presentation Attack Detection (PAD) เพื่อประเมินการมีชีวิตอยู่จริงของผู้ใช้ “มาตรฐานและกระบวนการทดสอบในปัจจุบันเพื่อกำหนดและประเมินกลไกของการตรวจจับการโจมตีหลอกนั้นไม่ครอบคลุมการโจมตีผ่านดิจิทัลหรือ Digital Injection Attacks ที่มาจาก Deepfakes ที่สร้างโดย AI ที่สามารถพัฒนาขึ้นได้แล้ววันนี้” มร. ข่าน กล่าวเพิ่มเติม

ผลการวิจัยการ์ทเนอร์ชี้ว่าการโจมตีแบบ Presentation Attack ที่เป็นการปลอมแปลงข้อมูลอัตลักษณ์ทางกายภาพของบุคคลเป็นการโจมตีที่พบบ่อยที่สุด ทว่าการโจมตีแบบ Injection Attack ที่เป็นการแทรกโค้ดลงในโปรแกรมหรือแบบสอบถาม หรือมัลแวร์ในคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุมคำสั่งผ่านระยะไกล ในปี 2566 มีอัตราเพิ่มขึ้นถึง 200% ดังนั้นเพื่อป้องกันการโจมตีดังกล่าวองค์กรจะต้องใช้การตรวจจับการโจมตีแบบ Injection Attack Detection (IAD) และการตรวจสอบภาพ หรือ Image Inspection ร่วมด้วย

AI

ใช้การตรวจจับแบบ IAD และเครื่องมือตรวจสอบรูปภาพร่วมกันเพื่อลดภัยคุกคามจาก Deepfake

เพื่อช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถปกป้องตนเองจากภัยคุกคาม Deepfakes ที่พัฒนาขึ้นโดย AI และมีความสามารถเหนือกว่าเทคโนโลยีที่ใช้ในการระบุตัวตนบนใบหน้า ผู้บริหาร CISO และผู้นำจัดการความเสี่ยงต้องเลือกผู้ขายที่สามารถแสดงให้เห็นได้ว่าพวกเขามีความสามารถ มีแผนการจัดการที่เหนือกว่าคุณภาพมาตรฐาน รวมถึงมีระบบมอนิเตอร์ จัดหมวด และกำหนดปริมาณของภัยคุกคามเกิดใหม่นี้

“องค์กรควรเริ่มกำหนดบรรทัดฐานการควบคุมขั้นต่ำด้วยการทำงานร่วมกับผู้ขายที่มีการลงทุนโดยเฉพาะในด้านการลดผลกระทบจากภัยคุกคาม Deepfake ล่าสุด โดยใช้การตรวจจับการโจมตีแบบ Injection Attack Detection (IAD) ควบคู่ไปกับระบบการตรวจสอบภาพ Image Inspection” มร. ข่าน กล่าวเพิ่มเติม 

เมื่อกำหนดกลยุทธ์และบรรทัดฐานการควบคุมพื้นฐานแล้ว ผู้บริหาร CISO และผู้นำทีมการจัดการความเสี่ยงจะต้องรวบรวมความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเพิ่มเติมและตระหนักถึงสัญญาณที่เป็นภัย อาทิ การระบุการใช้งานอุปกรณ์และการวิเคราะห์พฤติกรรม เพื่อเพิ่มโอกาสการตรวจจับการโจมตีในกระบวนการยืนยันตัวตน

นอกจากนี้ ผู้นำด้านความปลอดภัยและการบริหารความเสี่ยงยังมีบทบาทรับผิดชอบในด้านข้อมูลส่วนบุคคลและการจัดการการเข้าถึงควรมีขั้นตอนดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงการโจมตีแบบ Deepfake ที่ขับเคลื่อนจาก AI โดยเลือกเทคโนโลยีที่สามารถพิสูจน์ความเป็นมนุษย์ที่แท้จริงได้หรือนำมาตรการเพิ่มเติมมาใช้เพื่อป้องกันการเข้ายึดบัญชีใช้งาน 

ขอบคุณที่มาของบทความและภาพ – การ์ทเนอร์

SHARE
คนเล่าเรื่องไอที ที่เชื่อว่าการได้เดินทางและการพบปะพูดคุยกับผู้คนในสายงานต่าง ที่ไม่คุ้นเคยคือกำไรชีวิต...หลงไหลในการเดินทางเป็นชีวิตจิตใจ ตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อได้เจอเจ้าหน้าที่ ตม.
RELATED POSTS
เผยภาพ Concept ของ HUAWEI Mate 30 Pro
ลือ Apple อาจจะเปิดตัว iPhone ขนาด 4.7 นิ้วใช้ CPU A13 ใหม่ในปี 2020
เผยภาพเรนเดอร์สมาร์ทวอทช์รุ่นใหม่ HUAWEI Watch GT 2e ดีไซน์สุดงาม พร้อมสเปกชัดเจน

Leave Your Reply

*